Page 31 - การประเมินคุณภาพดินเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ ทางการเกษตรที่มีอัตราการชะล้างพังทลายสูงโดยใช้เทคนิคนิวเคลียร์ จังหวัดกาญจนบุรี Assessing soil quality and enhance crop productivity through agriculture management using nuclear techniques in the area of erosion in Kanchanaburi province.
P. 31
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
25
ผลการวิจัยและวิจารณ
1. การประเมินคุณภาพของดินและความอุดมสมบูรณของดิน
หลังจากที่ไดดําเนินการเก็บตัวอยางดินจากทั้ง 3 แหลงพื้นที่ ประกอบดวย (1) พื้นที่ปลูกพืชที่ไมมีการ
จัดระบบอนุรักษดินและน้ํา (2) พื้นที่ปาหรือพื้นที่ไมผลที่ไมมีการรบกวนหนาดิน (ใชสําหรับการอางอิงขอมูล
calibration) และ (3) พื้นที่ปลูกพืชของเกษตรกรที่มีการจัดระบบอนุรักษดินและน้ําที่ออกแบบโดยกรมพัฒนา
ที่ดิน แบง transaction หรือ ระยะการเก็บตัวอยางดิน ตามประเภทของความลาดชัน คือ (1) บริเวณ summit
(2) บริเวณ shoulder (3) บริเวณ backslope (4) บริเวณ footslope และ (5) บริเวณ toeslope ที่ระดับความลึก
ของดิน 3 ระดับ ประกอบดวย (1) 0 ถึง 10 เซนติเมตร (2) 10 ถึง 20 เซนติเมตร และ (3) 20 ถึง 30 เซนติเมตร
โดยเก็บขอมูลแบงตามชวงระยะเวลาได 3 ชวง ไดแก (1) เก็บขอมูลครั้งที่ 1 (เดือนเมษายน) (2) เก็บขอมูลครั้งที่
2 (เดือนมิถุนายน) และ (3) เก็บขอมูลครั้งที่ 3 (เดือนสิงหาคม) เสร็จเรียบรอยแลวนั้น ไดทําการวิเคราะหสมบัติ
ทางเคมีของดิน ไดแก pH EC OM P K Ca และ Mg ซึ่งผลการทดลองที่ไดสามารถอธิบายได ดังนี้
1.1 คาความเปนกรดเปนดางของดิน (pH)
คาเฉลี่ยของคาความเปนกรดเปนดางของดิน (pH) ในการเก็บขอมูลครั้งที่ 1 (เดือนเมษายน) พบวา
พื้นที่ทดลองทั้งสามแหลงมีความแตกตางกันของคา pH อยางมีนัยยะสําคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.01
กลาวคือ พื้นที่ปลูกพืชที่ไมมีการจัดระบบอนุรักษดินและน้ํา พบวามีคาเฉลี่ย pH นอยที่สุด (pH มีคาเทากับ
4.83) รองลงมาคือ พื้นที่ปายางพาราที่ไมมีการรบกวนหนาดิน ที่สุด (pH มีคาเทากับ 5.04) และพื้นที่ปลูกพืช
ของเกษตรกรที่มีการจัดระบบอนุรักษดินและน้ําที่ออกแบบโดยกรมพัฒนาที่ดิน มีคาเฉลี่ย pH สูงที่สุด เทากับ
5.71
จากขอมูลในตารางที่ 3 พบวาคาเฉลี่ย pH เมื่อเปรียบเทียบกับประเภทของความลาดชันและระดับ
ความลึก ไมมีความแตกตางกันอยางมีนัยยะสําคัญทางสถิติ ซึ่งอธิบายแยกตามพื้นที่ศึกษาได ดังนี้
พื้นที่ปลูกพืชที่ไมมีการจัดระบบอนุรักษดินและน้ํา สามารถเรียงลําดับคาเฉลี่ย pH จากทุกระดับความ
ลึกตามประเภทความลาดชันจากคาสูงสุดไปต่ําสุดได คือ Toeslope > Footslope > Backslope > Summit >
Shoulder ตามลําดับ โดยที่บริเวณ Toeslope ซึ่งเปนตําแหนงต่ําที่สุด มีคาเฉลี่ย pH สูงที่สุด (เทากับ 4.91 5.03
และ 5.10 ที่ระดับความลึก 0 - 10 10 – 20 และ 20 – 30 เซนติเมตร ตามลําดับ)
พื้นที่ปายางพาราที่ไมมีการรบกวนหนาดิน สามารถเรียงลําดับคาเฉลี่ย pH จากทุกระดับความลึกตาม
ประเภทความลาดชันจากคาสูงสุดไปต่ําสุดได คือ Backslope > Shoulder > Footslope > Summit >
Toeslope ตามลําดับ พบคาเฉลี่ย pH สูงสุด ณ ตําแหนง Backslope (เทากับ 5.07 5.17 และ 5.15 ที่ระดับ
ความลึก 0 - 10 10 – 20 และ 20 – 30 เซนติเมตร ตามลําดับ)
พื้นที่ปลูกพืชของเกษตรกรที่มีการจัดระบบอนุรักษดินและน้ําที่ออกแบบโดยกรมพัฒนาที่ดิน สามารถ
เรียงลําดับคาเฉลี่ย pH จากทุกระดับความลึกตามประเภทความลาดชันจากคาสูงสุดไปต่ําสุดได คือ Footslope >
Backslope > Toeslope > Summit > Shoulder ตามลําดับ พบคาเฉลี่ย pH สูงสุด ณ ตําแหนง Footslope
(เทากับ 5.86 5.81 และ 5.94 ที่ระดับความลึก 0 - 10 10 – 20 และ 20 – 30 เซนติเมตร ตามลําดับ)