Page 29 - การประเมินคุณภาพดินเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ ทางการเกษตรที่มีอัตราการชะล้างพังทลายสูงโดยใช้เทคนิคนิวเคลียร์ จังหวัดกาญจนบุรี Assessing soil quality and enhance crop productivity through agriculture management using nuclear techniques in the area of erosion in Kanchanaburi province.
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       23


                          ระยะเวลาในการเก็บตัวอยาง แบงตามชวงฤดูกาล จํานวน 3 ครั้ง เพื่อเปรียบเทียบความแตกตางของ
                   ปริมาณน้ําฝน และกิจกรรมการเพาะปลูกไดแก
                                 (1) เดือนเมษายน
                   .             (2) เดือนมิถุนายน

                                 (3)  เดือนสิงหาคม
                          ตําแหนงในการเก็บตัวอยางดินจะเก็บตามแนวระดับของชั้นความสูง 5 ระดับ แตละระดับหางกัน
                   ประมาณ 5 ถึง 10 เมตร ไดแก
                                 (1) บริเวณ summit
                                 (2) บริเวณ shoulder
                                 (3) บริเวณ backslope
                                 (4) บริเวณ footslope
                                 (5) บริเวณ toeslope

                          โดยแตละระดับทําการเก็บ 3 จุด (ดานซาย ตรงกลาง และดานขวาของพื้นที่ทดลอง) ซึ่งแตละจุดมีการ
                   บันทึกจุดพิกัด และสุมเจาะดินโดยใชเครื่องมือเก็บตัวอยางดินทรงกระบอกขนาดเสนผานศูนยกลาง 7 เซนติเมตร
                   เจาะลึก 30 เซนติเมตร สุมเจาะประมาณ 1 ถึง 2 ตัวอยาง เพื่อใหไดดินแตละจุดประมาณ 500 กรัม โดยแตละ
                   ตัวอยาง แบงเปนชั้นตามระดับความลึกของดิน ชั้นละ 10 เซนติเมตร ไดแก 0 ถึง 10 เซนติเมตร 10 ถึง 20
                   เซนติเมตร และ 20 ถึง 30 เซนติเมตร จากนั้นนําตัวอยางดินใสในถุงพลาสติกซิปล็อคเพื่อสงตัวอยางดินวิเคราะห
                                                                210
                   สมบัติทางเคมีของดินและปริมาณนิวไคลดกัมมันตรังสีของ  Pb ตอไป

                   3. การวิเคราะหตัวอยางดินในหองปฏิบัติการ
                          เมื่อไดเก็บตัวอยางดินภาคสนามที่ใสในถุงพลาสติกซิปล็อคแลวนั้น ลําดับตอไปจะตองแบงตัวอยางดิน

                   ของแตละจุด ออกเปน 2 สวน คือ
                          1) สวนที่ 1 สงหองปฏิบัติการของสํานักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 กรมพัฒนาที่ดินเพื่อวิเคราะหลักษณะ
                   ทางเคมีทั่วไป ไดแก pH (pH-H2O 1:1), EC (1:5; dS/m), OM (Walkley & Black; %), P (Bray II; mg/kg), K
                   (NH4OAc pH7 Flame photometry; mg/kg), Ca (NH4OAc pH7 AAS; mg/kg), Mg (NH4OAc pH7 AAS; mg/kg)
                   เปนตน
                                                                                           210
                          2) สวนที่ 2 สงหองปฏิบัติการ ณ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียรแหงชาติ เพื่อวิเคราะห  Pbex ตอไป

                          ขั้นตอนการจัดการตัวอยางดินเพื่อสงวิเคราะหในหองปฏิบัติการ ประกอบดวย
                          (1) นําตัวอยางดินทั้งหมด สงหองปฏิบัติการของสํานักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 กรมพัฒนาที่ดิน แลวจึง
                   ชั่งน้ําหนักดินกอนการอบหรือตากดิน บันทึกเปน “น้ําหนักดินกอนอบ”
                          (2) อบหรือตากตัวอยางดิน
                          (3) ชั่งน้ําหนักดินหลังการอบหรือตากดิน บันทึกเปน “น้ําหนักดินหลังอบ”

                          (4) นําขอมูลจากขอ (1) และ (3) สงใหสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียรแหงชาติ เพื่อใชคํานวณคาความแรง
                                                210
                   รังสี และใชคํานวณปริมาณไอโซโทป  Pbex ตอปริมาตรดินตอไป
                          (5) หลังจากอบตัวอยางดินแลว ใหชั่งน้ําหนักดินในแตละตัวอยาง จํานวน 50 กรัม ใสในถุงซิปลอค แยก
                                                     210
                   ตางหาก เพื่อการวิเคราะหปริมาณไอโซโทป  Pbex ณ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียรแหงชาติ
                          (6) สําหรับดินที่เหลือในขอ 5 นั้น ฝายวิเคราะหดิน สพข.10 สามารถทําการวิเคราะหหาปริมาณ pH
                   OM EC N P K Ca และ Mg ตอไป
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34