Page 19 - การประเมินคุณภาพดินเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ ทางการเกษตรที่มีอัตราการชะล้างพังทลายสูงโดยใช้เทคนิคนิวเคลียร์ จังหวัดกาญจนบุรี Assessing soil quality and enhance crop productivity through agriculture management using nuclear techniques in the area of erosion in Kanchanaburi province.
P. 19
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
13
Ruhe (1960) และ Wysocki et al. (2011) ไดอธิบายรายละเอียดในเรื่องความแตกตางของสภาพภูมิ
ประเทศในพื้นที่ลาดชัน โดยใชปจจัยที่เปนตัวกําหนดประเภทของตําแหนงสภาพภูมิประเทศ ไดแก คุณสมบัติ
ของดิน อัตราการไหลของน้ําและตะกอนดิน และอัตราความลาดชัน เปนตน ซึ่งสามารถแบงสภาพภูมิประเทศได
เปน 5 ประเภท ดังนี้
1) Summit (SU) หรือบริเวณสวนบนยอดเขา คือบริเวณที่สูงที่สุดของสภาพภูมิประเทศใด ๆ ซึ่งอาจเปน
ที่ราบสูง หรือมีความลาดเทของพื้นที่ก็ได
2) Shoulder (SH) หรือบริเวณสวนไหลเขา คือบริเวณที่ถัดลงมาจาก Summit มีลักษณะเปนพื้นที่ลาด
ชันแบบรูปกระทะคว่ํา (Convex slope) ซึ่งพบในบริเวณใกลยอดเนินเขา
3) Backslope (BS) หรือบริเวณลาดเขา คือบริเวณที่มีความลาดชันสูง ถัดลงมาจาก Shoulder มี
ลักษณะความลาดชันแบบเปนเสนตรง ไลระดับไปตามเสนชั้นความสูงของพื้นที่ ทําใหมีการชะลางหนาดินและ
การสูญเสียความอุดมสมบูรณของดินในบริเวณนี้มากที่สุด
4) Footslope (FS) หรือบริเวณเชิงเขา คือบริเวณที่ถัดลงมาจาก Backslope มีลักษณะเปนพื้นที่ลาดชัน
แบบรูปกระทะหงาย (Concave slope) ซึ่งพบในบริเวณกนรองเขาระหวางเนิน 2 แหง และเนื่องจากพบใน
บริเวณสภาพภูมิประเทศที่ต่ําลงมา ทําใหมักพบการชะลางพังทลายของดินหรือการเคลื่อนยายหนาดินอยาง
ชัดเจน
5) Toeslope (TS) หรือบริเวณที่ลาดเชิงเขา คือบริเวณที่ถัดลงมาจาก Footslope ซึ่งเปนบริเวณที่ต่ํา
ที่สุด ในบริเวณรองเขาหรือหุบเขา มักพบวาจะเปนทางเดินของน้ําหรือเปนบริเวณที่น้ําทวมถึงอยูบอยครับ ทําให
เปนบริเวณที่มีการสะสมตัวของตะกอนดินและเศษซากพืชตาง ๆ มากที่สุด
ภาพที่ 8 แผนภาพแสดงตําแหนงของสภาพภูมิเทศในพื้นที่ลาดชัน