Page 61 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 61

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           46

                   ตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง ตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดินไม่เผาตอซังและปลูกถั่ว

                   ปิ่นโตคลุมดิน มีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในดินเท่ากันที่ 0.13 เปอร์เซ็นต์
                            ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (Available Potassium : Avail.K) ในดินหลังการทดลอง

                   พบว่าปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.1) โดย

                   ตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซังมีปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินสูงสุดที่ 424
                   มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซังมีปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ใน

                   ดินรองลงมาที่ 392 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดินไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโต

                   คลุมดิน และตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซังมีปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินที่
                   369 และ 322 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ

                            ปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ (Available Magnesium : Avail.Mg) ในดินหลังการทดลอง
                   พบว่าปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินไม่มีความแตกต่างทางสถิติ โดยตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถ

                   พรวนและเผาตอซังมีปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินสูงสุดที่ 149 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตำรับการ

                   ทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดินไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน ตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอ
                   ซัง และมีปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินที่ 147 และ 122 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และ

                   พบว่าตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซังมีปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินต่ำสุดที่ 106
                   มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

                            ปริมาณแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ (Available calcium : Avail.Ca) ในดินหลังการทดลอง พบว่า

                   ปริมาณแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.1) โดยตำรับการ
                   ทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซังมีปริมาณแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินสูงสุดที่ 1,336 มิลลิกรัมต่อ

                   กิโลกรัม และตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง ตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง

                   และตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดินไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินมีปริมาณแคลเซียมที่เป็น
                   ประโยชน์ในดินที่ 846, 927 และ 1,138 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ

                            ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Available Phosphorus : Avail.P) ในดินหลังการทดลอง

                   พบว่าปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.1) โดยตำรับ
                   การทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซังมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินสูงสุดที่ 117.73 มิลลิกรัม

                   ต่อกิโลกรัม ตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดินไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน ตำรับการทดลองที่ 1
                   ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง และตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น

                   ประโยชน์ในดินที่ 57.54, 92.80 และ 98.03 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ดังตารางที่ 29

                            พบว่าการไถพรวนดินสับกลบตอซังมีปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ปริมาณ
                   ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินสูง ทั้งนี้การไถพรวนดินสับกลบตอซังส่งเสริมให้เกิดการย่อยสลายตัวของตอ

                   ซังข้าวโพดและปลดปล่อยธาตุอาหารลงดิน สำหรับการเผาตอซังทำให้ปริมาณโพแทสเซียม และแมกนีเซียมที่
                   เป็นประโยชน์ในดินสูงขึ้นจากเถ้าตอซังข้าวโพด การปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินนั้นให้ธาตุอาหารพืชในดินต่ำสุด

                   ทั้งนี้เกิดจากการดูดใช้ธาตุอาหารของถั่วปิ่นโตเพื่อการเจริญเติบโตด้วยเช่นกัน สอดคล้องกับการทดลองในปีที่

                   1 และ 2
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66