Page 60 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 60

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           45

                            เมื่อทำการหาปริมาณความชื้นในดิน (Soil Moisture Content) พบว่าปริมาณความชื้นในดินใน

                   ทุกตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ โดยปริมาณความชื้นในดิน มีค่าสูงสุดที่ 24.01 เปอร์เซ็นต์โดย
                   น้ำหนัก และมีค่าต่ำสุดที่ 22.11 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก

                            เมื่อหาความแตกต่างทางสถิติของค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดิน (Hydraulic conductivity  Of

                   saturated soil) พบว่าค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.1)
                   โดยตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง มีค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินต่ำสุดที่ 10.22

                   เซนติเมตรต่อชั่วโมง แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติในตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและ

                   ปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินที่ 15.69 เซนติเมตรต่อชั่วโมง ตำรับการทดลองที่ 2
                   ไถพรวนดินสับกลบตอซัง มีค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินที่ 37.3 เซนติเมตรต่อชั่วโมง และตำรับการ

                   ทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซังมีค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินสูงสุดที่ 65.36 เซนติเมตรต่อชั่วโมง
                   ดังตารางที่ 28

                   ตารางที่ 28 สมบัติทางกายภาพบางประการของดินหลังการทดลอง ปี 2563

                                                                                     Hydraulic conductivity
                         Treatment           Bulk Density    Soil Moisture Content     Of saturated soil



                    T1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง         1.25 b               22.11                       10.22  c
                    T2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง         1.38 a               23.88                       37.38  b
                    T3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง         1.29 ab              22.24                       65.36  a
                    T4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซัง
                     และปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน       1.31 ab              24.01                       15.69  c

                            F-test                       **                     ns                           **
                             cv                        2.39                    15.22                     13.88


                          เก็บตัวอย่างดินหลังการทดลองปีที่ 3 (พ.ศ.2563) ที่ระดับความลึก 15 เซนติเมตร และวิเคราะห์

                   สมบัติทางเคมีของดินบางประการ พบว่าความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH) ในทุกตำรับการทดลองไม่มีความ
                   แตกต่างทางสถิติ โดยตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินมีความเป็น

                   กรด-ด่างของดินสูงสุดที่ 6.41 ตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง ตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวน

                   ดินสับกลบตอซัง และตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซังมีความเป็นกรด-ด่างของดินที่ 5.52,
                   5.44 และ 5.85 ตามลำดับ

                            ปริมาณอินทรียวัตถุ (Organic Matter : OM) ในดินหลังการทดลอง พบว่าปริมาณอินทรียวัตถุใน
                   ดินไม่มีความแตกต่างทางสถิติ โดยตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซังมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงสุด

                   ที่ 3.47 เปอร์เซ็นต์ สำหรับตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดินไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน ตำรับ

                   การทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอ และตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง มีปริมาณ
                   อินทรียวัตถุในดินที่ 2.93, 3.02 และ 3.39 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

                            ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (Total Nitrogen : Total N) ในดินหลังการทดลอง พบว่าปริมาณ
                   ไนโตรเจนทั้งหมดในดินไม่มีความแตกต่างทางสถิติ  โดยตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง ตำรับ

                   การทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซังมีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในดินเท่ากันที่ 0.14 เปอร์เซ็นต์ และ
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65