Page 59 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 59

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           44

                   ตารางที่ 26 ปริมาณตะกอนดินแห้งที่สูญเสียดินในแต่ละสตอร์ม ปี 2563

                                                          Annual soil loss (ton/rai)               Total
                          Treatment
                                            20-Jun  6-Jul  20-Jul  6-Aug      20-Aug   6-Sep  ton/rai/year
                    T1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง    0.30   0.15     0.18    0.00      0.19     0.13         0.94

                    T2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง    0.41   0.15     0.08    0.19      0.28     0.12         1.23

                    T3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง    0.32   0.13     0.13    0.20      0.21     0.14         1.12
                    T4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซัง
                         และปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน   0.02   0.00   0.00   0.00    0.02     0.00         0.03

                                  จากการศึกษาการชะล้างพังทลายของดิน พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.1)

                   โดยตำรับการทดลองที่ 2 มีปริมาณตะกอนดินสะสมเฉลี่ยสูงสุด ที่ 1.23 ตันต่อไร่ต่อปี ตำรับการทดลองที่ 3

                   ไถพรวนดินและเผาตอซัง มีปริมาณตะกอนดินสะสมเฉลี่ย ที่ 1.12 ตันต่อไร่ต่อปี ตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถ
                   พรวนและเผาตอซัง มีปริมาณตะกอนดินสะสมเฉลี่ยสูงสุด 0.94 ตันต่อไร่ต่อปี และตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถ

                   พรวนดิน ไม่เผาตอซัง และปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน มีปริมาณตะกอนดินสะสมเฉลี่ยน้อยที่สุด 0.03 ตันต่อไร่ต่อปี

                   ดังตารางที่ 27


                   ตารางที่ 27 ปริมาณตะกอนดินแห้งที่สูญเสียดิน ปี 2563

                                                                         Annual soil loss
                                           Treatment

                                                                          (ton/rai/year)
                              T1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง                                    0.94   a

                              T2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง                                    1.23   a

                              T3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง                                    1.12   a
                              T4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซัง และ
                                   ปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน                                 0.03   b

                                              F-test                                       **

                                             C.V. (%)                                   39.37


                          3.สมบัติบางประการของดินหลังการทดลอง

                            เก็บตัวอย่างดินหลังการทดลองปลูกข้าวโพดในที่ 3 และทำการศึกษาสมบัติทางกายภาพของดิน

                   บางประการ พบว่าความหนาแน่นของดิน (Bulk Density) ในทุกตำรับการทดลองมีความแตกต่างทางสถิติ
                   อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.1)  โดยตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซังมีความหนาแน่นของดิน

                   ต่ำสุดที่ 1.25 กรัมต่อตารางเซนติเมตร ตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง มีความหนาแน่นของ
                   ดินสูงสุดที่ 1.38 กรัมต่อตารางเซนติเมตร แต่ไม่แตกต่างจากตำรับการทองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง

                   และตำรับการทดลองที่ 4ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน ซึ่งมีค่าความหนาแน่นของดิน

                   1.29 และ 1.31 กรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามลำดับ
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64