Page 54 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 54

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           39

                          จากการศึกษาขนาดฝักข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 3 ที่ปลูกในปี 2562 พบว่าความยาวและ

                   ความกว้างฝักไม่มีความแตกต่างทางสถิติ โดยตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง มีความยาวฝัก
                   เฉลี่ยสูงสุดที่ 16.98 เซนติเมตร ตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง และตำรับการทดลองที่ 4 ไม่

                   ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน มีความยาวฝักเฉลี่ยที่ 16.90 และ 16.78 เซนติเมตร

                   ตามลำดับ และตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง มีความยาวฝักเฉลี่ยเท่ากันที่ 16.38
                   เซนติเมตร สำหรับความกว้างฝักพบว่าตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง มีความกว้างฝักเฉลี่ย

                   สูงสุดที่ 4.45 เซนติเมตร ตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน และ

                   ตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง มีความกว้างฝักเฉลี่ยที่ 4.44 และ 4.39 เซนติเมตร ตามลำดับ
                   ตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง มีความกว้างฝักเฉลี่ยน้อยสุดที่ 4.31 เซนติเมตร

                            เมื่อพิจารณาจำนวนแถวต่อฝัก ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ โดยตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดิน
                   สับกลบตอซังมีจำนวนแถวต่อฝักเฉลี่ยสูงสุดที่ 14.47 แถวต่อฝัก และตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและ

                   เผาตอซัง และตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง มีจำนวนแถวต่อฝักเฉลี่ยที่ 12.27 และ 12.20

                   แถวต่อฝัก ตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน มีจำนวนแถวต่อฝัก
                   เฉลี่ยน้อยสุดที่  12.17 แถวต่อฝัก ดังตารางที่ 23

                            เมื่อพิจารณาจำนวนเมล็ดต่อฝัก พบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ โดยตำรับการทดลองที่ 3 ไถ
                   พรวนดินและเผาตอซัง มีน้ำหนักเมล็ดเฉลี่ยสูงสุดที่ 179.20 กรัมต่อฝัก ตำรับทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบ

                   ตอซัง และตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน มีน้ำหนักเมล็ดเฉลี่ยที่

                   172.27 และ 165.67 กรัมต่อฝัก และตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง มีน้ำหนักเมล็ดเฉลี่ย
                   น้อยสุดที่ 158.57 กรัมต่อฝัก ดังตารางที่ 23

                            ไม่พบความแตกต่างทางสถิติของน้ำหนัก 100 เมล็ด โดยตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผา

                   ตอซัง และตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน มีน้ำหนัก 100 เมล็ด
                   เฉลี่ยสูงสุดเท่ากันที่ 42.33 กรัม ตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง มีน้ำหนัก 100 เมล็ดเฉลี่ยที่

                   42.00 กรัม และตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง มีน้ำหนัก 100 เมล็ดเฉลี่ยน้อยสุดที่ 41.67

                   กรัม ดังตารางที่ 23

                   ตารางที่ 23 องค์ประกอบผลผลิต ปี 2562

                            Treatment                Ear Size (cm)         Row        Kernel      100 Kernel
                                                 Length      Width       per Ear     per Ear (g)   Weight (g)
                    T1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง         16.90        4.31        12.20       158.57         42.33

                    T2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง         16.38        4.45        12.47       172.27         42.00

                    T3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง         16.98        4.39        12.27       179.20         41.67
                    T4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซัง

                        และปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน    16.78        4.44        12.17       165.67         42.33
                              F-test                   ns          ns           ns           ns            ns

                             C.V. (%)                3.46        4.76         2.81         7.56          2.34
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59