Page 33 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           21

                          2.การชะล้างพังทลายของดิน

                            การศึกษาการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ หมู่ 7 ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
                   จาก แปลงศึกษาขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 22 เมตร ซึ่งมีการใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่

                   ละดับความลาดชัน 20 เปอร์เซ็นต์ โดยทำการศึกษาการชะล้างพังทลายของดินจากปริมาณตะกอนดินในถัง

                   ดักตะกอน ให้ผลการศึกษาดังนี้

                            2.1 ปริมาณตะกอนดินในถังดักตะกอน

                                 จากการศึกษาการชะล้างพังทลายของดินจากถังดักตะกอนดิน ในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                   ปี 2561 พบว่ามีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.1) โดยตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและ

                   เผาตอซัง มีปริมาณตะกอนดินสะสมเฉลี่ยสูงสุด 1.91 ตันต่อไร่ต่อปี ตำรับการทดลองที่ 3 ไถพรวนดินและเผา

                   ตอซัง มีปริมาณตะกอนดินสะสมเฉลี่ย ที่ 1.62 ตันต่อไร่ต่อปี ตำรับการทดลองที่ 2 มีปริมาณตะกอนดินสะสม
                   เฉลี่ย ที่ 0.84 ตันต่อไร่ต่อปี และตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซัง และปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน

                   มีปริมาณตะกอนดินสะสมเฉลี่ยน้อยที่สุด 0.12 ตันต่อไร่ต่อปี ดังตารางที่ 9


                   ตารางที่ 9 ปริมาณตะกอนดินแห้งที่สูญเสียดิน ปี 2561

                                                                         Annual soil loss
                                           Treatment
                                                                          (ton/rai/year)


                                     T1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง               1.91               a
                                     T2 ไถพรวนดินสับกลบตอซัง               0.84              ab

                                     T3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง               1.62               a
                                     T4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซัง

                                      และปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน             0.12               b
                                             F-test                         **

                                            C.V. (%)                       33.57

                          3.สมบัติบางประการของดินหลังการทดลอง

                            เก็บตัวอย่างดินหลังการทดลองปลูกข้าวโพดในที่ 1 และทำการศึกษาสมบัติทางกายภาพของดิน

                   บางประการ พบว่าความหนาแน่นของดิน (Bulk Density) ในทุกตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ
                   โดยตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ไถพรวนและเผาตอซังมีความหนาแน่นของดินสูงสุดที่ 1.43 กรัมต่อตาราง

                   เซนติเมตร ตำรับการทดลองที่ 2 ไถพรวนดินสับกลบตอซังมีความหนาแน่นของดินรองลองมาที่ 1.38 กรัมต่อ

                   ตารางเซนติเมตร ตำรับการทองที่ 3 ไถพรวนดินและเผาตอซัง และตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่
                   เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินมีความหนาแน่นของดินเท่ากันที่ 1.34 กรัมต่อตารางเซนติเมตร


                            เมื่อทำการหาปริมาณความชื้นในดิน (Soil Moisture Content) พบว่าปริมาณความชื้นในดินใน
                   ทุกตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ โดยปริมาณความชื้นในดิน มีค่าสูงสุดที่ 22.51 เปอร์เซ็นต์โดย

                   น้ำหนัก และมีค่าต่ำสุดที่ 19.65 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38