Page 20 - อิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning on Maize Production Systems and Soil Carbon on Upland in Chiang Mai Province.
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                           15

                                                       ผลการวิจัยและวิจารณ์

                   1. ผลการศึกษาฤดูปลูกที่ 1 ปี พ.ศ. 2561


                      1.1 สมบัติทางเคมีและกายภาพดิน
                          1.1.1 สมบัติทางเคมีดินก่อนดำเนินการ
                          ก่อนดำเนินการปลูกพืชในแปลงศึกษาได้สุ่มเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์สมบัติทางเคมี และกายภาพ โดย
                   สุ่มเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ศึกษาก่อนปลูกข้าวโพดจำนวน 5 จุด ผลการวิเคราะห์สมบัติดินก่อนปลูก  พบว่า ดินมี
                   ความเป็นกรดเป็นด่างของดินมีค่าเฉลี่ย 6.3 อยู่ในระดับเป็นกลาง เป็นสภาวะที่มีความเหมาะสมต่อการละลายธาตุ
                   อาหารในดินส่วนใหญ่จะสามารถละลายในรูปของสารละลายที่เป็นประโยชน์แก่พืชได้ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมี

                   ค่าเฉลี่ย 3.80 เปอร์เซ็นต์ จัดว่ามีปริมาณอินทรียวัตถุในดินสูง ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเจริญเติบโตของ
                   พืช ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน 2.2 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีค่าเฉลี่ย 171.88 มิลลิกรัมต่อ
                   กิโลกรัม จัดว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก แสดงให้เห็นว่าปริมาณฟอสฟอรัสในดินมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของ
                   พืช ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์มีค่าเฉลี่ย 641.80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก แสดงให้
                   เห็นว่าปริมาณโพแทสเซียมในดินมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของพืช เช่นเดียวกับธาตุฟอสฟอรัส ส่วนปริมาณ
                   แคลเซียมและปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์มีค่าเฉลี่ย 1,886 และ 207.80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อยู่ในระดับที่
                   สูงมากเกินกว่าความต้องการของพืช เช่นเดียวกัน ดังตารางที่ 3


                   ตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์ดินทางเคมีก่อนปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ก่อนดำเนินการ ปี พ.ศ. 2561

                    จุดเก็บตัวอย่าง  pH  OM  OC  P-BrayII  K-NH4OACpH7  Ca-NH4OACpH7   Mg-NH4OACpH7
                                                         -1
                                                                                     -1
                                                                                                      -1
                                                                      -1
                                        (%)  (%)  (mg kg )      (mg kg )       (mg kg )         (mg kg )
                         1        6.9  3.12  1.81    273.4         485            2161             175
                         2        5.9  3.78  2.19    156.9         697            1645             143
                         3        6.1  3.87  2.24     78.7         753            1651             241

                         4        6.3  4.50  2.61    297.9         687            2142             249
                         5        6.4  3.71  2.15     52.5         587            1831             231

                        เฉลี่ย    6.3  3.80  2.2    171.88       641.80         1886.00          207.80

                          1.1.2 สมบัติทางกายภาพดินก่อนดำเนินการ
                          ผลการวิเคราะห์ดินทางกายภาพก่อนดำเนินการ พบว่า ดินมีความหนาแน่นเท่ากับ 1.25 กรัมต่อลูกบาศก์
                   เซนติเมตร ความจุความชื้นสนาม 4.31 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เนื้อดินมีความละเอียดมีองค์ประกอบอนุภาคของ
                   ทราย 44.1 เปอร์เซ็นต์ อนุภาคของทรายแป้ง 31.48 เปอร์เซ็นต์ และอนุภาคของดินเหนียว 24.36 เปอร์เซ็นต์ ดัง

                   ตารางที่ 4
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25