Page 22 - การทำนายผลผลิตข้าวและข้าวโพดเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรง บริเวณพื้นที่สูงลุ่มน้ำแม่แจ่ม Crop Yield Projection at Mae Cham Sub Basin under Extreme Climate Change.
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           12

                          จิรสรณ์ และคณะ (2555) ได้ศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อการผลิตข้าวของ

                   ประเทศไทย โดยใช้แบบจ าลอง MWCropDEE2.0 ร่วมกับแบบจ าลองภูมิอากาศโลก 3 รูปแบบ 8 ชุดข้อมูล
                   ได้แก่ RCP4.5 RCP6.0 และ RCP8.5 จาก GCM-GFDL-ESM2M และ GCM-HadGEM2-ES และภาพจ าลอง

                   RCP4.5 และ RCP8.5 จาก GCM-MPI-ESM-LR ผลการศึกษาพบว่าการจ าลองการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทั้ง

                   8 ชุดข้อมูล มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวนาน้ าฝนคิดเป็น ร้อยละ 3 - 31 ในขณะที่ข้าวนาชลประทานมี
                   ผลผลิตลดลงคิดเป็น ร้อยละ 2 - 30  ในช่วงปี ค.ศ. 2090 - 2099 เมื่อเทียบกับช่วงปี ค.ศ. 2010 - 2019 ใน

                   ภาพรวมสรุปได้ว่า RCP8.5  มีผลกระทบต่อผลผลิตข้าวมากกว่า RCP6.0  และ RCP4.5  และ RCPs  จาก

                   GCM-HadGEM2-ES มีผลกระทบต่อผลผลิตข้าวมากกว่า GCM-MPI-ESM-LR และ GCM-GFDL-ESM2M
                          ยุทธศาสตร์ (2559) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศบริเวณ

                   ขอบแม่น้ าโขงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือร่วมกับคณะกรรมาธิการแม่น้ าโขง (Mekong River

                   Commission: MRC) โดยใช้โปรแกรม AquaCrop จ าลองผลผลิตในปี ค.ศ. 2030 และ 2060 ของข้าวและ
                   ข้าวโพด โดยใช้ข้อมูลสภาพภูมิอากาศจากแบบจ าลอง SimCLIM ภายใต้เงื่อนไขความเป็นไปได้ด้านภูมิอากาศ

                   4 สถานการณ์ที่แสดงถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมา ได้แก่ RCP2.6  RCP4.5  RCP6.0 และ

                   RCP8.5 พบว่าผลผลิตของพืชทั้งสองชนิดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่าลดลง ตามปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ใน
                   อากาศที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ซึ่งแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นได้จากแบบจ าลองไม่รวมการเกิดจากภัยแล้ง น้ าท่วม และ

                   แผ่นดินถล่ม เป็นต้น

                          พรพรรณ (2559) ได้ศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตพืชไร่
                   และพืชทดแทนพลังงาน ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน และงา โดยการส ารวจ

                   เก็บตัวอย่าง และสัมภาษณ์เกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจดังกล่าว พบว่า สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

                   ส่งผลให้อุณหภูมิสูงสุดและอุณหภูมิต่ าสุดมีแนวโน้มสูงกว่าค่าเฉลี่ยในปีฐาน (พ.ศ. 2514 - 2543) ประมาณ
                   0.4 - 1.2 องศาเซลเซียส และจ านวนวันฝนตกใน 1 ปี น้อยลงกว่าค่าเฉลี่ยในปีฐาน ท าให้การตกของฝนครั้ง

                   หนึ่ง ๆ มีปริมาณมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงปลายฝนจากเดิมที่เคยฝนตกวันละประมาณ 14 - 16 มิลลิเมตร
                   ปัจจุบันฝนตกวันละประมาณ 30 - 150 มิลลิเมตร และการกระจายตัวไม่ทั่วถึงเช่นแต่ก่อน ส่งผลกระทบต่อ

                   การเจริญเติบโตของพืช โดยมีแนวโน้มท าให้ผลผลิตพืชลดลง และเกิดการระบาดของแมลงศัตรูพืชและโรคพืช

                   มากยิ่งขึ้น
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27