Page 11 - ศึกษาผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุทางเกษตรต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มและศึกษาการชะล้างพังทลายของดินด้วยแบบจำลองการสูญเสียดินสากล
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                   ทะเบียนวิจัยเลขที่    61-63-18-99-020100-009-108-00-13
                   ชื่อโครงการวิจัย     การปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงโดยการจัดการดินและน้ าในพืช
                                        เศรษฐกิจบนพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม

                                        Adapting to Extreme Climate Change through Land and Water
                                        Management in Cash Crops for Highland Mae Chaem Sub Basin
                   กลุ่มชุดดิน          -
                   สถานที่ด้าเนินการ    อ าเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

                   ผู้ร่วมด้าเนินการ     นายยุทธศาสตร์  อนุรักติพันธุ์   Mr. Yuthasart Anuluxtipun
                                         นายพงศ์ธร  เพียรพิทักษ์     Mr Phongthorn Phianphitak
                                         นางสาววิชิตา  อินทรศรี      Miss WIchita Intharasri
                                         นางสาวสมจินต์  วานิชเสถียร   Miss Somjin Wanichasathian

                                         นายธนัญชย์  ด าข า          Mr. Thanan Damkham
                                         นายณรงค์เดช  ฮองกูล         Mr.Narongdech Hongkul


                                                            บทคัดย่อ

                          การศึกษาเรื่องการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงโดยการจัดการดินและน้ าในพื้นที่ปลูกข้าวและ
                   ข้าวโพด มีงานวิจัยย่อย 5 ด้าน คือ 1.ท านายผลผลิตข้าวและข้าวโพดเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ
                   อากาศที่รุนแรง 2.ความชื้นในดินต่อผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3.การเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และ

                   คาร์บอนในดิน 4.ความอุดมสมบูรณ์ของดินและการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด 5. การเผาตอ
                   ซังและไม่ไถพรวนในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยด าเนินการบนพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่สูง
                          ด้านผลการท านายผลผลิตข้าวและข้าวโพดในปี พ.ศ. 2573 และ 2603 เมื่อเทียบกับผลผลิตในปีฐาน
                   (พ.ศ. 2561 - 2563) พบว่า ปริมาณผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่าลดลง โดยผลผลิตข้าวเฉลี่ยในปีฐาน

                   เท่ากับ 623 กิโลกรัมต่อไร่และจะมีผลผลิตที่ ลดลงร้อยละ 3.54 และเพิ่มร้อยละ 15.00 คือ 601-717
                   กิโลกรัมต่อไร่ แต่ส าหรับผลผลิตข้าวโพดเฉลี่ยในปีฐานเท่ากับ 872 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มร้อยละ 0.87 จากปีฐาน
                   และเพิ่มขึ้นสูงสุดร้อยละ 3.24 คือ 879 – 900 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ ในเรื่องความชื้นดินผลการศึกษาการ
                   คลุมดินและการให้น้ า พบว่าวิธีการไม่คลุมดินและวิธีการที่ให้น้ าทุก 4 วัน เป็นวิธีที่เหมาะสมต่อการ

                   เจริญเติบโตและให้ผลผลิตของข้าวโพดสูงสุด 1,390 กิโลกรัมต่อไร่ และให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุด
                   7,897 บาทต่อไร่ ในด้านการศึกษาเรื่องอิทธิพลจากการเผาพบว่า การเจริญเติบโตของข้าวโพดในฤดูปลูกแรก
                   คือไม่เผาตอซัง+ไถพรวน+ปุ๋ยTSFM+ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 4 ตันต่อไร่ ให้ผลผลิต 1,600 กิโลกรัมต่อไร่ ให้
                   ผลตอบแทนสูงสุด 8,837.88 บาทต่อไร่ ในด้านความอุดมสมบูรณ์ของดินบริเวณลุ่มน้ าแม่แจ่มและพื้นที่ปลูก

                   ข้าวโพด มีปริมาณอินทรียวัตถุเฉลี่ย 3.08 เปอร์เซ็นต์ คาร์บอนในดินเฉลี่ย 1.79 เปอร์เซ็นต์ ไนโตรเจนในดิน
                   เฉลี่ย 0.17 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสในดินเฉลี่ย 58.13 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และโพแทสเซียมในดินเฉลี่ย
                   121.83 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ โดยในปี 2562 และ 2563 พบว่า ความอุดมสมบูรณ์ของดินมี

                   ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จ านวนจุดความร้อนในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเฉลี่ย 21 จุดต่อปี ส่งผลให้เกิดพื้นที่ถูกเผาไหม้ เฉลี่ย
                   12,917 ไร่ต่อปี ท าให้มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 5,683 ตันต่อปี. โครงการสุดท้าย
                   การจัดการดินแบบไถพรวนและไม่ไถพรวนดิน กับการเผา พบว่าการไม่ไถพรวนและเผาตอซังให้ผลตอบแทน
                   ทางเศรษฐกิจ Corn farming with zero tillage สูงสุดอยู่ในช่วง 8,837 – 10,284 บาทต่อไร่ และให้ก าไร
                   สุทธิสูงสุดอยู่ในช่วง 5,021- 6,468 บาทต่อไร่ สรุปพื้นที่ลุ่มน้ าแม่แจ่มในอนาคตอาจไม่ได้รับผลกระทบต่อ

                   ผลผลิตและรายได้แต่ยังคงต้องให้ความสนใจในมาตรการเพื่อให้เกษตรกรปรับตัว
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16