Page 3 - ผลของการจัดการธาตุอาหารพืชในดินต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในดินด่าง Effects of plant nutrient management in calcareous soilon sugar cane yield and quality.
P. 3

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน











                       ทะเบียนวิจัยเลขที่   61 63 04 12 030000 021 102 02 11

                       ชื่อโครงการ          ผลของการจัดการธาตุอาหารพืชในดินต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในดินด่าง
                                            Effects of plant nutrient management in calcareous soil  on sugar cane

                                            yield  and quality
                       กลุ่มชุดดินที่       28    ชุดดินชัยบาดาล

                       ผู้ดำเนินการ         นายดานิเอล  มูลอย            Mr. Daniel  Muloi

                                            นายสุทธิพงศ์  วทานียเวช       Mr.  Sutthipong  Wathaneeyawech
                                            นางพัชรีภรณ์  ดีมุกข์ดา      Mrs.Patchareeporn  Deemukda

                                            นางสาวกมลวรรณ ทองอ่อน      MS.Kamonwan  Tongon


                                                            บทคัดย่อ


                              การศึกษาผลของการจัดการธาตุอาหารพืชในดินต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกใน
                       ดินด่าง ดำเนินการทดลองตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2560 ถึงเดือน มีนาคม 2564 ณ บ้านเขาดิน หมู่ 4

                       ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก จ.นครสวรรค์ เพื่อศึกษาวิธีการจัดการธาตุอาหารพืชในดินต่อ
                       ผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในดินด่าง วางแผนการทดลองแบบ Randomized complete

                       block design (RCBD) 5 วิธีการทดลอง (treatment)   4 ซ้ำ (replication) ได้แก่วิธีการที่ 1

                       แปลงควบคุม วิธีการที่ 2 วิธีเกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-7-18 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีการที่ 3 ใส่
                       ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน (ห้องปฏิบัติการ) ร่วมกับกำมะถันผง อัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีการที่ 4

                       ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ดินโดยใช้ชุดตรวจสอบดิน ldd test kit ร่วมกับกำมะถันผง
                       อัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีการที่ 5  ใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการร่วมกับกำมะถันผง

                       อัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่ จากการทดลองพบว่า ดินหลังการทดลองทุกตำรับการทดลองมีค่าความ

                       เป็นกรดเป็นด่างลดลงจากด่างปานกลางเป็นด่างเล็กน้อย  ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และ
                       ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกตำรับการทดลอง ตำรับการทดลองที่ 3

                       การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน (ห้องปฏิบัติการ) ร่วมกับกำมะถันผง อัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่ ให้
                       ผลผลิตอ้อยมากสุดทุกปีการทดลอง เฉลี่ย 3 ปีเท่ากับ17,104 กิโลกรัมต่อไร่ ในปีที่ 3 ตำรับการ

                       ทดลองที่ 3 การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน (ห้องปฏิบัติการ) ร่วมกับกำมะถันผง อัตรา 150

                       กิโลกรัมต่อไร่ ให้ค่าความหวานสูงสุดเท่ากัน 21 องศาบริกซ์ ตำรับการทดลองที่ 3 การใส่ปุ๋ยเคมีตาม
                       ค่าวิเคราะห์ดิน (ห้องปฏิบัติการ) ร่วมกับกำมะถันผง อัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลตอบแทนทาง

                       เศรษฐกิจมากที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 6,932 บาทต่อไร่
   1   2   3   4   5   6   7   8