Page 21 - ผลของการจัดการธาตุอาหารพืชในดินต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในดินด่าง Effects of plant nutrient management in calcareous soilon sugar cane yield and quality.
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                       19


                       2.ผลผลิตและองค์ประกอบของผลผลิตอ้อย

                              2.1 ผลผลิตและองค์ประกอบของผลผลิตอ้อยปีที่ 1 (อ้อยปลูก)


                                     2.1.1 ผลผลิตอ้อย
                                     จากการปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ตามวิธีการทดลอง เก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยปลูก

                       (ปีที่ 1) และนำมาเปรียบเทียบ พบว่า ผลผลิตอ้อยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ
                       โดย ตำรับการทดลองที่ 3 การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน (ห้องปฏิบัติการ) ร่วมกับกำมะถันผง

                       อัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตสูงที่สุด 25,088 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมา ตำรับการทดลองที่ 4 5

                       2 และท้ายสุดตำรับการทดลองที่ 1 โดยให้ผลผลิตเท่ากับ 24,825  20,575  20,525  และ 16,000
                       กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ แสดงดังตารางที่ 2


                                     2.1.2 ความยาวลำอ้อย
                                     จากการปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และทำการวัดความยาวลำอ้อยในวันเก็บเกี่ยว

                       พบว่า ความยาวลำอ้อยเฉลี่ยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดย ตำรับการทดลองที่

                       2 วิธีการของเกษตรกรมีความยาวลำอ้อยเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 198 เซนติเมตร รองลงมาตำรับการ
                       ทดลองที่ 3  5  4 และท้ายสุดตำรับการทดลองที่ 1 โดยมีความยาวลำอ้อยเฉลี่ยเท่ากับ 197 192

                       190 และ 177 เซนติเมตร ตามลำดับ แสดงดังตารางที่ 2

                                     2.1.3 ความหวานอ้อย

                                     การปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และทำการวัดค่าความหวานด้วยเครื่องวัดค่าความ
                       หวาน (Hand Refractometer) ในวันเก็บเกี่ยว และนำมาเปรียบเทียบ พบว่า ความหวานอ้อยมี

                       ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดย ตำรับการทดลองที่ 2 วิธีการของเกษตรกร ตำรับการ
                       ทดลองที่ 4 ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ดินโดยใช้ชุดตรวจสอบดิน ldd test kit ร่วมกับ

                       การใส่กำมะถันผง อัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่ และตำรับการทดลองที่ 5 ใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของ

                       กรมวิชาการเกษตรร่วมกับการใส่กำมะถันผงอัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ค่าความหวานสูงสุดเท่ากัน
                       15 องศาบริกซ์ รองลงมาเป็นตำรับการทดองที่ 3 การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน (ห้องปฏิบัติการ)

                       ร่วมกับกำมะถันผง อัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ค่าความหวาน 14 องศาบริกซ์ ท้ายสุด ตำรับการ
                       ทดลองที่ 1 แปลงควบคุม ให้ความหวาน 12 องศาบริกซ์ แสดงดังตารางที่ 2
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26