Page 29 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน











                       3. ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
                              จากการศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในแปลงทดลองผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อ
                       ผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ โดยทำการการปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3

                       ตามวิธีการทดลอง ในพื้นที่บ้านเขาดิน หมู่ 4 ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
                       ซึ่งดินเป็นดินด่าง  พบว่า
                              3.1 ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของอ้อยปีที่ 1 (อ้อยปลูก)

                              ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของการปลูกอ้อยขอนแก่น 3 ซึ่งเป็นค่าแรงงานได้แก่ ค่าเตรียมดิน (ไถ
                       ดะ ไถแปร ยกร่อง) ค่าดูแลรักษา ค่าปลูกอ้อย ค่าเก็บเกี่ยว และค่าแรงขนขึ้นรถ-ลงรถ ค่าวัสดุได้แก่ ค่า
                       ท่อนพันธุ์อ้อย วัสดุอุปกรณ์ติดตั้งระบบน้ำหยด (ไม่รวมท่อเมนและเครื่องสูบน้ำ)  ค่าสารเคมี และค่า
                       ปุ๋ยเคมี พบว่า ตำรับการทดลองที่ 1 มีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด คือ 9,799 บาทต่อไร่ ส่วนตำรับการทดลอง

                       ที่ 5 มีต้นทุนการผลิตสูงที่สุด คือ 22,774 บาทต่อไร่ แสดงดังตารางที่ 9  และตารางภาคผนวกที่ 6
                              มูลค่าผลผลิตของการปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 พบว่า ตำรับการทดลองที่ 5 มีมูลค่าผลผลิต
                       ของการปลูกอ้อยสูงสุด คือ 27,495 บาทต่อไร่  เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตต่อไร่เท่ากับ 30.55 ตันต่อ
                       ไร่  เมื่อจำหน่ายอ้อยในราคา 900 บาทต่อตัน รองลงมาเป็นตำรับการทดลองที่ 4 มีมูลค่าผลผลิตของ

                       การปลูกอ้อยเท่ากับ 23,706 บาทต่อไร่  มีปริมาณผลผลิตต่อไร่เท่ากับ 26.34 ตันต่อไร่ และตำรับ
                       การทดลองที่ 3 มีมูลค่าผลผลิตของการปลูกอ้อยเท่ากับ 20,021 บาทต่อไร่ มีปริมาณผลผลิตต่อไร่
                       เท่ากับ 22.25 ตันต่อไร่ แสดงดังตารางที่ 9 และตารางผนวกที่ 6
                              รายได้สุทธิของการปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3  พบว่าตำรับการทดลองที่ 5 มีรายได้สุทธิของการ

                       ปลูกอ้อยสูงสุด คือ 4,721 บาทต่อไร่ รองลงมาเป็นตำรับการทดลองที่ 2 มีรายได้สุทธิของการปลูกอ้อย
                       เท่ากับ คือ 3,720 บาทต่อไร่  ส่วนตำรับการทดลองที่ 3 มีรายได้สุทธิของการปลูกอ้อยต่ำที่สุด คือ -259
                       บาทต่อไร่  ซึ่งรายได้สุทธิการผลิตจะขึ้นอยู่กับมูลค่าผลผลิต เมื่อนำมาคิดเป็นรายได้สุทธิโดยเปรียบเทียบกับ

                       ต้นทุนการผลิต จึงมีผลทำให้ได้ค่ารายได้สุทธิและมูลค่าผลผลิตจากการทดลองไปในทิศทางเดียวกัน ยกเว้น
                       ตำรับการทดลองที่ 3 กับ ตำรับการทดลองที่ 2 และ 1 ที่สวนทางกันเนื่องจากต้นทุนที่มากกว่าซึ่งเป็นการ
                       ลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากการติดตั้งระบบน้ำหยด ทำให้เมื่อนำมาคิดเป็นรายได้สุทธิแล้ว ตำรับการทดลองที่ 3 จึงมี
                       รายได้สุทธิน้อยกว่าตำรับการทดลองที่ 2 และ ตำรับการทดลองที่ 1 แสดงดังตารางที่ 9 และตารางผนวกที่ 6

                       ตารางที่ 9  ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ปีที่ 1 ( อ้อยปลูก)

                                  ราคา                                                 ผลตอบแทนเหนือ
                        ตำรับ    ผลผลิต        ต้นทุน       ผลผลิต      มูลค่าผลผลิต    ต้นทุนผันแปร
                         ที่                 (บาท/ไร่)      (ตัน/ไร่)      (บาท)
                                (บาท/ตัน)                                                   (บาท)
                          1        900         9,799         12.83         11,543           1,745

                          2        900        11,715         17.15         15,435           3,720

                          3        900         20284         22.25         20,021           -259


                          4        900        21,511         26.34         23,706           2,195
                          5        900        22,774         30.55         27,495           4,721
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34