Page 33 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน











                       3.5 ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของอ้อยเฉลี่ย 3 ปี
                              ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 3 ปี ของการปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ซึ่งเป็นค่าแรงงานได้แก่ ค่า
                       เตรียมดิน (ไถดะ ไถแปร ยกร่อง) ค่าดูแลรักษา ค่าปลูกอ้อย ค่าเก็บเกี่ยว และค่าแรงขนขึ้นรถ-ลงรถ

                       ค่าวัสดุได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ติดตั้งระบบน้ำหยด (ไม่รวมท่อเมนและเครื่องสูบน้ำ) ค่าพันธุ์อ้อย ค่า
                       สารเคมี และค่าปุ๋ยเคมี พบว่า ตำรับการทดลองที่ 1 มีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด คือ 5,825 บาทต่อไร่
                       ส่วนตำรับการทดลองที่ 5 มีต้นทุนการผลิตสูงที่สุด คือ 13,479  บาทต่อไร่ แสดงดังตารางที่ 13

                       และตารางภาคผนวกที่  10
                              มูลค่าผลผลิตของการปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 พบว่า ตำรับการทดลองที่ 5 มีมูลค่าผลผลิต
                       ของการปลูกอ้อยเฉลี่ย 3 ปี สูงสุด คือ 21,249 บาทต่อไร่  เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตต่อไร่เท่ากับ
                       23.61 ตันต่อไร่  เมื่อจำหน่ายอ้อยในราคา 900 บาทต่อตัน รองลงมาเป็นตำรับการทดลองที่ 4 มี

                       มูลค่าผลผลิตของการปลูกอ้อยเท่ากับ 19,593 บาทต่อไร่  มีปริมาณผลผลิตต่อไร่เท่ากับ 21.77 ตัน
                       ต่อไร่ และตำรับการทดลองที่ 3 มีมูลค่าผลผลิตของการปลูกอ้อยเท่ากับ 17,703 บาทต่อไร่ มี
                       ปริมาณผลผลิตต่อไร่เท่ากับ 19.67 ตันต่อไร่ ถัดมาตำรับการทดลองที่ 2 มีมูลค่าผลผลิตของการปลูก
                       อ้อยเท่ากับ 13,962 บาทต่อไร่ มีปริมาณผลผลิตต่อไร่เท่ากับ 15.51 ตันต่อไร่ ท้ายสุด ตำรับการ

                       ทดลองที่ 1  มีมูลค่าผลผลิตของการปลูกอ้อยเท่ากับ 7,926 บาทต่อไร่ มีปริมาณผลผลิตต่อไร่เท่ากับ
                       8.80 ตันต่อไร่  แสดงดังตารางที่ 13 และตารางผนวกที่ 10
                              รายได้สุทธิของการปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3  พบว่าตำรับการทดลองที่ 5  มีรายได้สุทธิของ
                       การปลูกอ้อยเฉลี่ย 3 ปี สูงสุด คือ 7,770 บาทต่อไร่ รองลงมาเป็นตำรับการทดลองที่ 4 3 2 และ

                       ตำรับการทดลองที่ 1 มีรายได้สุทธิของการปลูกอ้อยเท่ากับ คือ 6,666  5,406  5,505  และ 2,101
                       บาทต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งรายได้สุทธิการผลิตจะขึ้นอยู่กับมูลค่าผลผลิต เมื่อนำมาคิดเป็นรายได้สุทธิ
                       โดยเปรียบเทียบกับต้นทุนการผลิต จึงมีผลทำให้ได้ค่ารายได้สุทธิและมูลค่าผลผลิตจากการทดลองไป

                       ในทิศทางเดียวกัน แสดงดังตารางที่ 9 และตารางผนวกที่ 10

                       ตารางที่ 13  ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ เฉลี่ย 3 ปี



                        ตำรับ ราคาผลผลิต       ต้นทุน        ผลผลิต      มูลค่าผลผลิต  ผลตอบแทนเหนือ
                         ที่    (บาท/ตัน)     (บาท/ไร่)      (ตัน/ไร่)      (บาท)     ต้นทุนผันแปร(บาท)


                          1        900         5,825          8.80          7,926           2,101


                          2        900         8,457          15.51        13,962           5,505

                          3        900         12,297         19.67        17,703           5,406

                          4        900         12,927         21.77        19,593           6,666


                          5        900         13,479         23.61        21,249           7,770
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38