Page 34 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 34
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
สรุปและข้อเสนอแนะ
การศึกษาผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัด
นครสวรรค์ ดำเนินการทดลองตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2560 ถึงเดือน เมษายน 2564 ณ บ้านเขาดิน หมู่
4 ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก จ.นครสวรรค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้ระบบน้ำหยดเพื่อเพิ่ม
ผลผลิตและคุณภาพอ้อยที่ปลูกในดินด่าง รวมทั้งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ จากการศึกษาทดลอง
สามารถสรุปผล ได้ดังนี้
1.สมบัติทางเคมีของดิน
จากการดำเนินการวิจัย พบว่า ดินหลังการทดลองทุกตำรับการทดลองมีค่าความเป็นกรด
เป็นด่างลดลงจากด่างปานกลางเป็นด่างเล็กน้อย ปริมาณอินทรียวัตถุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกตำรับการ
ทดลอง เช่นเดียวกับปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกตำรับการทดลอง ซึ่ง
น่าจะเป็นผลมาจากการตกค้างของปุ๋ยเคมี
2.ผลผลิตและองค์ประกอบของผลผลิตอ้อย
จากการดำเนินการวิจัย พบว่า การให้น้ำแบบระบบน้ำหยด ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่า
วิเคราะห์ดิน มีผลทำให้ผลผลิตอ้อยให้เพิ่มขึ้นจากวิธีการของเกษตรกรที่ไม่มีการให้น้ำแบบระบบน้ำ
หยด โดยวิธีการที่ 5 การให้น้ำเท่ากับ 150 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำที่ได้จากการประเมินในระบบ
น้ำหยด เป็นวิธีการที่ดีที่สุดให้ผลผลิตอ้อยสูงสุดทั้ง 3 ปี ผลผลิตรวม 3 ปีเท่ากับ 70.83 ตันต่อไร่ คิด
เป็นผลผลิตเฉลี่ยปีละ 23.61 ตันต่อไร่ โดยผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นจากวิธีการของเกษตรที่ไม่มีระบบน้ำ
หยดเฉลี่ยไร่ละ 8.10 ตันต่อไร่ต่อปี
ความยาวลำอ้อย จากการปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และทำการวัดความยาวลำอ้อยในวัน
เก็บเกี่ยว พบว่า ปีที่1 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยตำรับการทดลองที่ 5 การ
ให้น้ำเท่ากับ 150 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำที่ได้จากการประเมินในระบบน้ำหยด มีความยาวลำอ้อย
เฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 252 เซนติเมตร ส่วนในปีที่ 2 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ตำรับการ
ทดลองที่ 5 มีความยาวลำอ้อยเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 263 เซนติเมตร แต่ในปีที่ 3 มีความแตกต่าง
กันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยตำรับการทดลองที่ 2 วิธีเกษตรกรมีความยาวลำอ้อยเฉลี่ยมาก
ที่สุด เท่ากับ 205 เซนติเมตร
ความหวานอ้อย พบว่า ระบบน้ำหยดไม่มีผลต่อความหวานอ้อย แต่การให้ปุ๋ยเคมีมีผลต่อ
ความหวานของอ้อย
3. ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
จากการศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในแปลงทดลองผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อ
ผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ โดยทำการปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ตาม
วิธีการทดลอง ทั้ง 3 ปี พบว่า วิธีการที่ 5 การให้น้ำเท่ากับ 150 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำที่ได้จาก
การประเมินในระบบน้ำหยด ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากที่สุดทุกปี รายได้สุทธิของการปลูก
อ้อยเฉลี่ย 3 ปี สูงสุด คือ 7,770 บาทต่อไร่ต่อปี