Page 20 - ความหลากหลายทางพันธุกรรม มวลชีวภาพและผลผลิตเมล็ดของเชื้อพันธุ์ปอเทืองไทย Genetic Diversity, Biomass and Seed Yield of Thai Sunn Hemp (Crotalaria juncea L.) Germplasm
P. 20

ห
                                                                                     ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                         7


                      การจําแนกประเภทเนื้อดิน ดินทั่วไปจะประกอบดวยอนุภาคทั้ง 3 กลุมขนาด คือ ทราย (sand) ทรายแปง

               (silt) และดินเหนียว (clay) ดินแตละพื้นที่จะมีความแตกตางกันทางดานธรณีวิทยา ลักษณะภูมิประเทศ และ
               ภูมิอากาศ จะมีสัดสวนผสมของอนุภาคทั้ง 3 กลุมขนาดแตกตางกัน เปนผลใหเกิดเนื้อดินหลายชนิด และเนื่องจาก
               สัดสวนผสมของกลุมอนุภาคที่วิเคราะหจริงจากตัวอยางดินที่มีสมบัติคลายกัน อาจแตกตางกันได นักวิทยาศาสตร
               ทางดินจึงจัดเนื้อดินเปนกลุมประเภท (textural classes) มีดวยกัน 12 ประเภท เนื้อดินที่ถูกจัดใหอยูในประเภท
               เดียวกัน ถึงแมจะมีความผันแปรของสัดสวนผสมของอนุภาค 3 ชนิดได แตจะมีสมบัติทางฟสิกสที่คลายกัน การใช
               งานดินเชิงปฏิบัติสําหรับเพาะปลูกโดยทั่วไปไมจําเปนตองทราบเนื้อดินที่แนนอน เกษตรกรอาจจําแนกประเภทเนื้อ

               ดินออกเปน 3 กลุมใหญๆ คือ
               1. กลุมดินเนื้อละเอียด (fine-textured soil) ซึ่งประกอบดวย 5 ประเภทคือ
                      1) ดินเหนียว (clay)
                      2) ดินเหนียวปนทรายแปง (silty clay)

                      3) ดินเหนียวปนทราย (sandy clay)
                      4) ดินรวนเหนียว (clay loam)
                      5) ดินรวนเหนียวปนทรายแปง (silty clay loam)
               2. กลุมดินเนื้อปานกลาง (medium-textured soil) ซึ่งประกอบดวย 4 ประเภทคือ
                      1) ดินรวนเหนียวปนทราย (sandy clay loam)
                      2) ดินรวน (loam)

                      3) ดินรวนปนทรายแปง (silt loam)
                      4) ดินทรายแปง (silt)
               3. กลุมดินเนื้อหยาบ (coarse-textured soil) ซึ่งประกอบดวย 3 ประเภทคือ
                      1) ดินทราย (sand)

                      2) ดินทรายรวน (loamy sand)
                      3) ดินรวนทราย (sandy loam)
                      ดินที่มีเนื้อตางๆ ภายในกลุมดินใหญๆ เหลานี้จะมีหลักการปฏิบัติดานการเกษตร อาทิ การไถพรวน การ
               ชลประทาน และการใสปุยใกลเคียงกัน (คณาจารยภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548)

                                               ระยะเวลาและสถานที่ดําเนินการ

               ระยะเวลาโครงการ      3       ป         0         เดือน
               วันที่เริ่มตน 1 ตุลาคม 2560  วันที่สิ้นสุด  30 กันยายน 2563
               สถานีพัฒนาที่ดินพิษณุโลก    หมูที่ 2 ตําบลชัยนาม อําเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
               จุดพิกัด (ระบบ UTM)         N 1859624 E 654899

               ชุดดิน โคราช                กลุมชุดดินที่ 35
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25