Page 17 - ความหลากหลายทางพันธุกรรม มวลชีวภาพและผลผลิตเมล็ดของเชื้อพันธุ์ปอเทืองไทย Genetic Diversity, Biomass and Seed Yield of Thai Sunn Hemp (Crotalaria juncea L.) Germplasm
P. 17

ห
                                                                                     ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                         4


                                                    หลักการและเหตุผล

                      ปอเทือง เปนพืชตระกูลถั่วที่เกษตรกรนิยมปลูกมากขึ้น เนื่องจากเห็นถึงความสําคัญของการปรับปรุงบํารุง
               ดิน ลดตนทุนการผลิตดานการใชปุยเคมี สะดวกแกการนําไปใชในไรนาที่มีพื้นที่กวางใหญ และเปนการสนับสนุน
               นโยบายของรัฐบาลที่ตองการใหเกษตรกรลดพื้นที่การปลูกขาวเพื่อแกปญหาสถานการณผลผลิตขาวไมสมดุลกับ
               ความตองการของตลาด และแกปญหาภัยแลง กรมพัฒนาที่ดินจึงแนะนําใหเกษตรกรหันมาปลูกพืชปุยสดซึ่งเปน
               พืชที่ใชน้ํานอยทดแทนการทํานาปรังสามารถสรางรายไดเสริมใหกับเกษตรกรได นอกจากนี้ยังมีผลพลอยไดคือเมื่อ
               ปอเทืองออกดอกสีเหลืองสวยงามทั่วทั้งทุงจะชวยสงเสริมดานการทองเที่ยว เพิ่มรายไดใหเกษตรกรในพื้นที่อีกทาง

               หนึ่ง
                      แตในดานการปรับปรุงบํารุงดินและการผลิตเมล็ดพันธุ ยังพบปญหาในหลายพื้นที่คือ เมล็ดเชื้อพันธุที่
               ไดมา เมื่อนําไปปลูกในพื้นที่เดียวกัน ลักษณะดินเหมือนกัน ตนปอเทืองมีเจริญเติบโตที่แตกตางกันไป บางตน
               สามารถเจริญเติบโตไดดี ตนสูง แตกกิ่งกานมาก ทรงพุมกวาง แตบางตนกลับแคระแกร็น ตนเตี้ย ไมแตกกิ่งกาน

               แสดงถึงความไมสม่ําเสมอของลักษณะทางพันธุกรรมในประชากรของเชื้อพันธุปอเทือง ซึ่งมีผลตอการเจริญเติบโต
               มวลชีวภาพ และผลผลิตเมล็ด และจากการรวบรวมขอมูลทางวิชาการพบวา ปอเทืองมีน้ําหนักสดประมาณ 1.5-5
               ตันตอไร ธาตุไนโตรเจนประมาณ 8.7-28.9 กิโลกรัมตอไร อายุเก็บเกี่ยว 120-150 วัน ผลผลิตเมล็ดประมาณ 50-
               150 กิโลกรัมตอไร (กรมพัฒนาที่ดิน, 2554 ; ประชา, 2546) ซึ่งเปนชวงขอมูลที่กวาง ทําใหเห็นปญหาในการนํา
               ปอเทืองไปใชในการปรับปรุงบํารุงดินและผลิตเมล็ดพันธุไมมีประสิทธิภาพ เกษตรกรไมมั่นใจ ไมคุมคากับการ
               ลงทุน เมื่อปลูกแลวไดมวลชีวภาพและผลผลิตเมล็ดต่ํา จึงเกิดคําถามจากเกษตรกรคือ มีขอมูลเบื้องตนหรือไมที่เรา

               จะสามารถสังเกตไดวาเมล็ดพันธุลักษณะใดจะใหตนปอเทืองที่สมบูรณ ตนใหญ แตกกิ่งกานมาก มวลชีวภาพ และ
               ผลผลิตสูง การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมสามารถศึกษาไดจากความหลากหลายภายในประชากรของ
               แตละพันธุและความหลากหลายระหวางประชากร (Brush, 2000) ซึ่งการประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรม
               ในขั้นตนสวนมากจะอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาเปนหลัก เนื่องจากเปนลักษณะที่สังเกตไดงาย

                      ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงคเพื่อประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในและระหวาง
               ประชากรของเชื้อพันธุปอเทืองไทยดวยลักษณะทางสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยา ศึกษาความสัมพันธของสีเมล็ด
               พันธุ ขนาดเมล็ดพันธุ และเนื้อดินตอการเจริญเติบโต มวลชีวภาพ และผลผลิตเมล็ดของเชื้อพันธุปอเทืองไทย ซึ่ง
               เปนขอมูลที่ยังไมมีรายงานในประเทศไทย สามารถสรางองคความรูและความเขาใจพื้นฐานเกี่ยวกับความ
               หลากหลายทางพันธุกรรมภายในประชากรและระหวางประชากรของเชื้อพันธุปอเทืองไทยใหกับเกษตรกร
               เจาหนาที่ของรัฐ สวนราชการที่เกี่ยวของ และบุคคลที่สนใจ สามารถนําผลวิจัยเกี่ยวกับลักษณะเมล็ดพันธุและผล

               ของเนื้อดินที่มีความสัมพันธกับการเจริญเติบโต มวลชีวภาพ และผลผลิตเมล็ด ไปเปนแนวทางเบื้องตนใหเกษตรกร
               ในการจัดการที่เหมาะสมสําหรับการใชปอเทืองเพื่อการปรับปรุงบํารุงดินและการผลิตเมล็ดพันธุที่มีประสิทธิภาพ
               และทําใหทราบถึงขอมูลลักษณะที่ดีในประชากรของแตละเชื้อพันธุ เชน ความสูง ทรงพุม การแตกกิ่งกาน มวล
               ชีวภาพ ปริมาณธาตุอาหารที่สําคัญ และผลผลิตเมล็ด ซึ่งสามารถใชเปนแหลงพันธุกรรมในการคัดเลือกพันธุ

               ปอเทืองของไทยใหมีลักษณะตามตองการตอไป
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22