Page 18 - ความหลากหลายทางพันธุกรรม มวลชีวภาพและผลผลิตเมล็ดของเชื้อพันธุ์ปอเทืองไทย Genetic Diversity, Biomass and Seed Yield of Thai Sunn Hemp (Crotalaria juncea L.) Germplasm
P. 18

ห
                                                                                     ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                         5


                                                       วัตถุประสงค

               1. เพื่อประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในและระหวางประชากรของเชื้อพันธุปอเทืองไทยดวยลักษณะ
               ทางสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยา
               2. เพื่อศึกษาความสัมพันธของสีเมล็ดพันธุ ขนาดเมล็ดพันธุ และเนื้อดินตอการเจริญเติบโต มวลชีวภาพ และ
               ผลผลิตเมล็ดของเชื้อพันธุปอเทืองไทย

                                                     การตรวจเอกสาร

                      ปอเทือง (Sunn hemp) ชื่อวิทยาศาสตร คือ Crotalaria juncea L. เปนพืชตระกูลถั่ว ฤดูเดียว ลักษณะ
               เปนพุม โดยทั่วไปถือวามีตนกําเนิดจากประเทศอินเดีย ที่มีการเพาะปลูกมากอนประวัติศาสตร และปลูกในทุกรัฐ
               ของอินเดียเพื่อใชเปนพืชเสนใย พืชปุยสด และอาหารสัตว โดยมีพันธุปอเทืองที่ถูกคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุที่
               เฉพาะเจาะจงกับพื้นที่ปลูกและมีลักษณะเดนแตกตางกันไปประมาณ 15 สายพันธุ ปจจุบันปอเทืองปลูกมากในเขต

               รอนและเขตกึ่งรอน (Mannetje, 2016 ; Chaudhury, 1978) สําหรับในประเทศไทยไมพบรายงานเรื่องสายพันธุ
               ตามประวัติครั้งแรกถูกนําเขามาจากประเทศฟลิปปนส กอน พ.ศ. 2485 ปลูกครั้งแรกที่แมโจ จังหวัดเชียงใหม
               หลังจากนั้นก็ไดนําไปปลูกใชเปนปุยพืชสดอยางกวางขวาง เปนที่รูจักกันดีในหมูนักวิชาการดานปุยพืชสด (กรม
               พัฒนาที่ดิน, 2559 ; ประชา, 2546) กรมพัฒนาที่ดินมีนโยบายสงเสริมการปรับปรุงบํารุงดินดวยพืชปุยสดและ
               แนะนําพืชตระกูลถั่วที่ใชเปนปุยพืชสดไดเร็ว ไดแก ปอเทือง โสน ถั่วพรา และถั่วแปป เนื่องจากพืชตระกูลถั่วกลุม
               นี้เมื่อสับกลบลงดินแลวจะเนาเปอยสลายตัวกลายเปนปุยไดรวดเร็ว เพราะมีใบมากและลําตนไมแข็ง สําหรับ

               ปอเทืองเปนพืชปุยสดที่ปลูกไดทั่วประเทศ เนื่องจากสามารถขึ้นไดในสภาพอากาศทั่วๆ ไป ทั้งบนที่ดอนและในที่
               ลุมที่ไมมีน้ําขัง ทนตอความแหงแลง (กรมพัฒนาที่ดิน, 2554) ปอเทืองมีน้ําหนักสดประมาณ 1.5-5 ตันตอไร ธาตุ
               ไนโตรเจนประมาณ 8.7-28.9 กิโลกรัมตอไร ผลผลิตเมล็ดประมาณ 50-150 กิโลกรัมตอไร (กรมพัฒนาที่ดิน, 2554
               ; ประชา, 2546)

                      ความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) คือ ความแตกตางของสายพันธุของทั้งพืชและสัตวที่
               มีอยูเปนจํานวนมาก ซึ่งสิ่งมีชีวิตแตละชนิดจะมียีนจํานวนมากที่ควบคุมลักษณะตางๆ ทางพันธุกรรมของสายพันธุ
               นั้น หนวยพันธุกรรมหรือยีนรูปแบบตางๆ ที่มีความแตกตางกันอยางมากมายจะเปนตัวการสําคัญในการกําหนด
               รูปรางและการทํางานของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการสืบทอดสายพันธุและเผาพันธุของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทาง
               พันธุกรรมที่เกิดขึ้นจึงขึ้นอยูกับจํานวนยีน รวมทั้งลักษณะการผสมพันธุ และการแพรกระจายของสายพันธุนั้นๆ
               ดวย (Oka, 1991) การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมสามารถวัดจากลักษณะภายนอกที่เห็นไดชัด เชน

               ชื่อพันธุ ขนาด รูปราง และสีของเมล็ด รสชาด ความตานทานโรคและแมลง ความสุกแก และลักษณะทางปริมาณ
               ที่สามารถนับได (Power and McSorley, 2000) ซึ่งลักษณะภายนอกที่เห็นนี้สามารถแยกความแตกตางหรือความ
               หลากหลายของสายพันธุไดในระดับหนึ่ง การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมสามารถศึกษาไดจากความ
               หลากหลายภายในประชากรของแตละพันธุและความหลากหลายระหวางประชากร (Brush, 2000)

                      การวัดความหลากหลายทางพันธุกรรม โดยทั่วไปแบงเปน 3 ระดับ คือ พันธุประวัติ ลักษณะที่แสดงออก
               และพันธุกรรม ในแตละระดับก็มีทั้งขอดีและขอดอย เชน การวัดลักษณะที่แสดงออก บางครั้งลักษณะที่แสดง
               ออกมานั้นอาจไดรับอิทธิพลรวมกันของลักษณะที่แสดงออกกับพันธุกรรม และลักษณะที่พืชแสดงออกมา
               เหมือนกันอาจมีพันธุกรรมที่ตางกันได เชน ลักษณะที่สําคัญทางเศรษฐกิจไดแก ผลผลิต คุณภาพ เปนผลมาจาก
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23