Page 6 - ศึกษาอัตราส่วนผสมระหว่างปูนมาร์ล กรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพเพื่อปั้นเม็ดเพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด Study the mixture ratio between marl, silicon and biochar to form pellets for increasing plant growth in acid sulfate soils
P. 6

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                     การตรวจเอกสาร


                       จังหวัดปทุมธานี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง ประกอบด้วย 7 อำเภอ ได้แก่

               อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี  อำเภอลำลูกกา
               และอำเภอหนองเสือ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินเปรี้ยวจัด กลุ่มชุดดินที่พบได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 2, 3, 10 และ 11

               รวมพื้นที่ทั้งหมด 688,940 ไร่ การใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่เป็นการปลูกข้าว ปัญหาของดินเปรี้ยวจัดหรือดิน
               กรดกำมะถันเกิดขึ้นในดินเป็นปริมาณ จนเป็นดินปัญหาส่งผลกระทบต่อการปลูกพืชและผลผลิต ดินเป็นกรด

               รุนแรงมากถึงกรดจัดมาก มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ต่ำกว่า 4 ทำให้ดินขาดธาตุอาหารพืช ธาตุ
               ไนโตรเจนและธาตุฟอสฟอรัส โดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัสจะขาดรุนแรง เนื่องจากจะถูกตรึงอยู่ในรูปที่พืชไม่

               สามารถดูดไปใช้ได้ ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืชต่ำ มีธาตุเหล็กและธาตุอะลูมินัม
               ละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อพืชที่ปลูกทำให้พืชที่ปลูกไม่เจริญเติบโตหรือตาย เช่น การทำนาปลูกข้าวจะไม่

               เจริญเติบโตหรือให้ผลผลิตต่ำมากประมาณ 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ เท่านั้น ทำให้ประสบปัญหาขาดทุน


                      ดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดกำมะถัน
                       เป็นดินปัญหาที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 5.6 ล้านไร่ กระจายอยู่ในบริเวณที่

               ราบลุ่มภาคกลาง 3.2 ล้านไร่ ภาคตะวันออก 9 แสนไร่ และภาคใต้ 1.5 ล้านไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่ ใช้ประโยชน์
               ทางการเกษตรประมาณ 4.5 ล้านไร่ เป็นพื้นที่นาปลูกข้าวประมาณ 3.4 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 75.5 เปอร์เซ็นต์

               ของพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรทั้งหมด (นงคราญ, 2559) ดินเปรี้ยวจัดเป็นดินที่มีความเหมาะสม

               สำหรับการปลูกข้าว แต่ให้ผลผลิตต่ำเนื่องจากดินเป็นกรดจัดและขาดแคลนธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจนและ
               ฟอสฟอรัส และมีธาตุบางตัว เช่น อะลูมินัม เหล็ก และแมงกานีส ละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อพืชที่ปลูก

               จากสภาพปัญหา ดังกล่าวทำให้พืชที่ปลูกในดินเปรี้ยวจัดเจริญเติบโตไม่ดีและให้ผลผลิตต่ำถึงต่ำมาก ในขณะที่

               ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีการแก้ไขปัญหาปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดนี้สามารถปฏิบัติได้หลาย
               วิธีการแต่การใช้วัสดุปูนทางการเกษตรเป็นวิธีการที่สะดวกเห็นผลรวดเร็วและลงทุนต่ำ  การใช้วัสดุปูนทาง

               การเกษตร เช่น ปูนมาร์ล เป็นปูนทางการเกษตร ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต

               (CaCo3)และดินเหนียว (Clay) มีคุณสมบัติแก้ความเป็นกรดของดินและเพิ่มธาตุอาหารพืชในดิน (สุรเดช,
               2549)


                      ชุดดินรังสิต (Rangsit series : Rs) ชุดดินที่ 11

                       เป็นกลุ่มชุดดินที่ 11 จัดอยู่ใน very fine, mixed, semiactive, isohyperthermic Sulfaqueptic

               Dystraquerts เกิดจากตะกอน ที่ถูกน้ำพัดพามาทับถมโดยน้ำกร่อย (brackish water) ในบริเวณซึ่งอดีตน้ำ
               ทะเลเคยท่วมถึง สภาพพื้นที่ที่พบมี ลักษณะราบเรียบ มีความลาดชัน 1 เปอร์เซ็นต์ ดินชุดนี้เป็นดินลึก มีการ

               ระบายน้ำเลว ดินมีความสามารถให้น้ำซึมผ่านได้ช้ามาก มีการไหลบ่าของน้ำบนผิวดินช้า ตามปกติแล้วระดับ
               น้ำใต้ดินอยู่ต่ำกว่า 1 เมตร ดินบนลึกไม่เกิน 25 เซนติเมตร มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด สีพื้นเป็นสีดำหรือ

               น้ำตาลปนดำเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลปนเหลืองและสีแดงบ้างเล็กน้อย ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมาก (pH 4.5)

               ส่วนดินล่างเนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนดำ มีจุดประสีน้ำตาลเข้ม และมีจุดประสีแดง


                                                            6
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11