Page 8 - ผลของโดโลไมท์ ปุ๋ยอินทรีย์ และไตรโคเดอร์มาต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตของพริกไทย Effects of dolomite, organic fertilizers and Trichaderma spp. On soil fertility and pepper yield were investigated
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                         8


                   การใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำจากค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับโดโลไมท์ อัตรา 1 กก./ค้าง/ปีและปุ๋ยหมักอัตรา 5
                   กก./ค้าง/ปี ให้ผลผลิตสูงสุดเท่ากับ 2,125.18 และ 948.21 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนการใส่โดโลไมท์

                   อัตรา 1 กก./ค้าง/ปีร่วมกับปุ๋ยหมักอัตรา 5 กก./ค้าง/ปี ให้ผลผลิตต่ำสุดเท่ากับ 1,102.56 และ 128.19
                   กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ สำหรับการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินหลังสิ้นสุดการทดลอง พบว่าค่า
                   ความเป็นกรดเป็นด่างของดินลดลงในทุกวิธีการ เช่นเดียวกับปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ในขณะที่ปริมาณ
                   ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Avai. P) และปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายได้ในดิน (Exch. K) ในดินมี

                   แนวโน้มเพิ่มขึ้น (สาธิต, 2557) ขณะที่เทคโนโลยีการผลิตพริกไทยอินทรีย์ พบว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ทำให้
                   ดินมีค่า pH เพิ่มขึ้น และช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดินจาก 2.40% เป็น 2.72-5.16% (ณรงค์และ
                   คณะ, 2554)


                                                    ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ

                    ระยะเวลาดำเนินการ         เริ่มต้นเดือนมกราคม 2561
                                              สิ้นสุดเดือนกันยายน 2563
                    สถานที่ดำเนินการ          ตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี


                    Site characterization ข้อมูลรายละเอียดพื้นฐานที่สำคัญของพื้นที่แปลงทดลองมีรายละเอียดดังนี้

                    ชุดดิน                    หนองคล้า (Nong Khla series: Nok)

                    กลุ่มชุดดินที่            45
                    สถานที่พบ                 ตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
                    พิกัดทางภูมิศาสตร์        ระบบ UTM 47  820536E  1418411N
                    การจำแนกดิน               Clayey-skeletal, kaolinitic, isohyperthermic Typic
                                              Kandiudults

                    การกำเนิด                 เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็น
                                              ระยะทางใกล้ๆ
                    สภาพพื้นที่               ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-12 %

                    การระบายน้ำ               ดี
                    การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน  เร็ว
                    สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ      เร็ว
                    พืชพรรณธรรมชาติและ        ป่าดงดิบชื้น ยางพารา วัสดุถมถนน

                    การใช้ประโยชน์ที่ดิน
                    การแพร่กระจาย             ภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย
                    ลักษณะและสมบัติของดิน     เป็นดินตื้นมาก ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนดินเหนียว มีสีน้ำตาล
                                              ปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5) ดินล่างมี

                                              เนื้อดินเป็นดินร่วนปน ดินเหนียวหรือดินเหนียวปนลูกรัง มีสีแดงเข้ม
                                              ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัดปานกลาง (pH 5.0-6.0)
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13