Page 3 - ผลของโดโลไมท์ ปุ๋ยอินทรีย์ และไตรโคเดอร์มาต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตของพริกไทย Effects of dolomite, organic fertilizers and Trichaderma spp. On soil fertility and pepper yield were investigated
P. 3

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                         3


                    ทะเบียนวิจัยเลขที่      61-63-03-12-20000-009-105-01-11
                    โครงการวิจัย            ผลของโดโลไมท์ ปุ๋ยอินทรีย์ และไตรโคเดอร์มาต่อความอุดมสมบูรณ์

                                               ของดินและผลผลิตของพริกไทย
                                       Effects of dolomite, organic fertilizers and Trichoderma spp. on soil
                                       fertility and pepper yield were investigated.

                    กลุ่มชุดดินที่            45 ชุดดินหนองคล้า (Nok)
                    สถานที่ดำเนินการ     ตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

                    ผู้รับผิดชอบ       นางสาวรติกร  ณ ลำปาง
                    ผู้ร่วมดำเนินการ   ว่าที่ร.ต.นันทภพ ชลเขตต์
                                       นางสาวศิริกาญจน์ เกิดพร



                                                          บทคัดย่อ

                          การศึกษาผลของโดโลไมท์ ปุ๋ยอินทรีย์ และไตรโคเดอร์มาต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและ
                   ผลผลิตของพริกไทย ได้ดำเนินการในพื้นที่ของเกษตรกร ตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
                   ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2563 ในกลุ่มชุดดินที่ 45 ชุดดินหนองคล้า (Nok)

                   เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินภายใต้วิธีการจัดการดินต่างๆ และศึกษาผลของวัสดุ
                   ปรับปรุงดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกไทย โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized
                   Complete Block Design (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ 8 วิธีการ ประกอบด้วย 1) แปลงควบคุม 2) ปุ๋ยเคมีตาม

                   ค่าวิเคราะห์ดิน 3) ปุ๋ยหมัก 2 ตันต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน 4) ปุ๋ยหมัก 2 ตันต่อไร่ร่วมกับไตรโค
                   เดอร์มาและปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน 5) ปุ๋ยหมัก 2 ตันต่อไร่ร่วมกับสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 และปุ๋ยเคมี
                   ตามค่าวิเคราะห์ดิน 6) ปุ๋ยหมัก 4 ตันต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน 7) ปุ๋ยหมัก 4 ตันต่อไร่ร่วมกับ
                   ไตรโคเดอร์มาและปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน 8) ปุ๋ยหมัก 4 ตันต่อไร่ร่วมกับสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 และปุ๋ยเคมี
                   ตามค่าวิเคราะห์ดิน ผลการทดลองพบว่า หลังการจัดการดินด้วยวิธีการต่างๆ สมบัติทางเคมีของดินมีการ

                   เปลี่ยนแปลง จากเดิมมีค่า pH เฉลี่ย 5 หลังสิ้นสุดการทดลองดินมีค่า pH เฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ย
                   ระหว่าง 5.4-5.7 ปริมาณอินทรียวัตถุสะสมในดินมีการเปลี่ยนแปลงมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.8-2.2 เปอร์เซ็นต์
                   การใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ร่วมกับไตรโคเดอร์มา และปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณฟอสฟอรัส

                   สะสมในดินมากสุดคือ 106.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และการใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่ร่วมกับไตรโคเดอร์มา
                   และปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณโพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมสะสมในดินมากสุดคือ
                   173.3 454.3 และ 80.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ สำหรับการใช้ปุ๋ยหมัก เชื้อไตรโครเดอร์มา สารเร่ง
                   ซุปเปอร์พด.3 และปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ในรูปแบบต่างๆ ไม่มีผลทำให้ผลผลิตพริกไทยแตกต่างกัน

                   ทางสถิติ โดยการใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ร่วมกับไตรโคเดอร์มา และปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ทำให้
                   ได้รับผลผลิตพริกไทยเท่ากับ 3,786.7 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่แปลงควบคุมให้ผลผลิตพริกไทยเท่ากับ
                   2,713.3 กิโลกรัมต่อไร่ ในด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเหนือต้นทุนผันแปรพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน
   1   2   3   4   5   6   7   8