Page 7 - ผลของโดโลไมท์ ปุ๋ยอินทรีย์ และไตรโคเดอร์มาต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตของพริกไทย Effects of dolomite, organic fertilizers and Trichaderma spp. On soil fertility and pepper yield were investigated
P. 7

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                         7


                         กลไกการควบคุมโรคพืชของกลุ่มจุลินทรีย์ในสารเร่งซุปเปอร์ พด.3
                         การเข้าทำลายเชื้อสาเหตุโรคพืชได้โดยตรง เนื่องจากเส้นใยของเชื้อราไตรโคเดอร์มา จะเจริญอย่าง

                   รวดเร็วเข้าปกคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช และจะดูดของเหลวภายในเซลล์ของเชื้อสาเหตุโรคพืชเพื่อใช้เป็นแหล่ง
                   อาหาร
                         - มีความสามารถในการแข่งขันการใช้อาหารและเจริญเติบโตได้ดีกว่าเชื้อสาเหตุโรคพืช
                         - สามารถสร้างสารปฏิชีวนะหรือสารพิษที่ทำลายหรือยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคพืชในดิน

                          ทำให้เชื้อสาเหตุโรคพืชไม่สามารถแพร่กระจายได้
                         คุณสมบัติของจุลินทรีย์ในสารเร่งซุปเปอร์ พด.3
                         สามารถป้องกันและควบคุมการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคพืชเศรษฐกิจหลายชนิด ทั้งที่ปลูกในสภาพ
                   ที่ดอน และในสภาพที่ลุ่มได้แก่ โรคเน่าและเหี่ยวของพืชผัก เช่น พริก มะเขือเทศ แตง เป็นต้น

                         การขยายเชื้อซุปเปอร์ พด.3
                         1) วัสดุสำหรับขยายเชื้อ
                           ปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม รำข้าว
                         2) วิธีขยายเชื้อ

                             - ผสมสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 และรำข้าวในน้ำ 5 ลิตร คนให้เข้ากันนาน 5 นาที
                             - รดสารละลายซุปเปอร์ พด.3 ลงในกองปุ๋ยหมักและคลุกเคล้าให้เข้ากัน
                             - ตั้งกองปุ๋ยที่คลุกผสมเข้ากันดีแล้ว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้มีความสูง 50 เซนติเมตร และใช้

                   วัสดุคลุมกองปุ๋ย เพื่อรักษาความชื้นให้ได้ 60-70 เปอร์เซ็นต์
                             - กองปุ๋ยหมักให้อยู่ในที่ร่มเป็นเวลา 7 วัน
                         การดูแลรักษา ดูแลรักษาความชื้นของกองปุ๋ยหมักให้สม่ำเสมอ โดยใช้วัสดุคลุม หรืออาจใช้วิธีการ
                   กรอกปุ๋ยที่คลุกผสมเข้ากันดีแล้วลงในถุงปุ๋ย แล้วปิดปากถุงเพื่อรักษาความชื้นเป็นเวลา 7 วัน หลังจาก
                   ขยายเชื้อเป็นเวลา 7 วัน เชื้อจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักจะเพิ่มปริมาณขึ้น สังเกตได้จากกลุ่มเส้นใยสีขาวและ

                   สปอร์สีเขียวเจริญในกองปุ๋ยหมักเป็นจำนวนมาก คลุกเคล้าปุ๋ยหมักให้เข้ากัน นำไปเก็บไว้ในที่ร่ม
                         อัตราและวิธีการใช้ พืชผัก ใช้อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ระหว่างแถวก่อนปลูกพืช (กรมพัฒนา
                   ที่ดิน, 2558)

                   พริกไทย

                         พริกไทยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Piper Nigrum Linn และมีชื่อสามัญว่า Black pepper เป็นเป็น
                   ไม้เลื้อย เจริญในแนวดิ่ง สูงได้ประมาณ 10 เมตรหรือมากกว่า มีลำต้นหลักและแตกแขนงออกเป็นพุ่ม มี
                   การสร้างรากพิเศษสั้นๆบริเวณข้อเพื่อยึดเกาะสิ่งรอบข้าง ช่วยในการพยุงลำต้น ใบเดี่ยว รูปรี เรียงสลับ
                   โคนใบและปลายใบแหลม หลังใบสีเขียวเข้ม มันวาว ท้องใบสีเขียวอ่อน ชื่อดอกแบบช่อเชิงลด ดอกย่อยสี

                   ขาวหรือสีเหลืองอ่อน 50-150 ดอกต่อช่อ ผลทรงกลมแบบเมล็ดเดียวแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6
                   มิลลิเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวเมื่อสุกมีสีแดง ติดผลประมาณ 50-60 เมล็ดต่อช่อผล พันธุ์ซาราวัคหรือพันธุ์คุ
                   ชซิ่ง คือพันธุ์ที่ชาวสวนพริกไทยจังหวัดจันทบุรีนิยมปลูกกันมาก หรือเรียกพันธุ์มาเลเซีย เพราะเป็นพันธุ์ที่
                   นำมาจากรัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซีย สามารถต้านทานโรครากเน่าได้ดีกว่าพันธุ์จันทบุรี ซึ่งปลูกอยู่แต่

                   เดิมโดยเจริญเติบโตได้เร็วและให้ผลผลิตสูงกว่า ถ้าต้นสมบูรณ์จะให้ผลผลิตน้ำหนักสดเฉลี่ย ประมาณ 9-
                   12 กิโลกรัมต่อค้างต่อปี หรือไร่ละประมาณ 3,600-4,800 กิโลกรัมต่อปี (พนม, ไม่ระบุปี)
                         จากรายงานผลการวิจัยการตอบสนองของผลผลิตพริกไทยต่อการจัดการดินด้วยปุ๋ยหมักและโดโล

                   ไมท์ พบว่าผลผลิตพริกไทยสดพันธุ์ซีลอนในปีที่ 1 และ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่ง
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12