Page 12 - ผลของโดโลไมท์ ปุ๋ยอินทรีย์ และไตรโคเดอร์มาต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตของพริกไทย Effects of dolomite, organic fertilizers and Trichaderma spp. On soil fertility and pepper yield were investigated
P. 12
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
12
ในดินต่ำสุดเท่ากับ 238 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ เนื่องจากทุกวิธีการ ยกเว้นแปลงควบคุม มีการใช้โดโลไมท์
ปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินทำให้มีปริมาณแคลเซียมในดินเพิ่มขึ้น (ตารางที่ 1)
1.6 ปริมาณแมกนีเซียมในดิน ก่อนการทดลองมีปริมาณแมกนีเซียมในดินเริ่มต้น 32.5 มิลลิกรัม
ต่อกิโลกรัม หลังการทดลองปีที่ 1 พบว่า ปริมาณแมกนีเซียมในดินมีการเปลี่ยนแปลง โดยการใช้ปุ๋ยหมัก
อัตรา 4 ตันต่อไร่ร่วมกับไตรโคเดอร์มาและปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณแมกนีเซียมในดินสูงที่สุด
เท่ากับ 80.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงไปได้แก่ การใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามค่า
วิเคราะห์ดิน มีปริมาณแมกนีเซียมในดินเท่ากับ 73 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ขณะที่แปลงควบคุมมีปริมาณ
แมกนีเซียมในดินต่ำสุดเท่ากับ 40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ เนื่องจากทุกวิธีการ ยกเว้นแปลงควบคุม มี
การใช้โดโลไมท์ปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินทำให้มีปริมาณแมกนีเซียมในดินเพิ่มขึ้น (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินที่ระดับความลึก 0-20 เซนติเมตร
OM Extractable (mg/kg)
วิธีการ pH
(%) P K Ca Mg
ก่อนการทดลอง 5.0 1.8 9.3 65.5 156 32.5
หลังสิ้นสุดการทดลอง
แปลงควบคุม 5.0 1.7 29.0 137.0 238.0 40.0
ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน 5.4 1.8 40.3 93.0 298.0 51.7
ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ + ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน 5.4 1.8 54.7 110.7 268.3 49.0
ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ + ไตรโคเดอร์มา + 5.4 1.8 106.3 158.0 356.3 59.3
ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน
ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ + สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 + 5.5 1.8 39.7 144.3 300.3 52.3
ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน
ปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่ + ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน 5.5 2.2 99.3 152.7 423.7 73.0
ปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่ + ไตรโคเดอร์มา + 5.7 2.1 70.0 173.3 454.3 80.7
ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน
ปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่ + สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 + 5.6 1.9 31.3 118.7 293.5 53.5
ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน
2. การเจริญเติบโตของต้นพริกไทย
2.1 ความสูง
จากการวิเคราะห์ความสูงต้นพริกไทย ที่อายุ 4 8 และ 12 เดือน พบว่า การปรับปรุงดินกรดด้วย
โดโลไมท์ในทุกวิธีการ ยกเว้นแปลงควบคุม ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เชื้อไตรโคเดอร์มา และปุ๋ยเคมี ในวิธีการ
ต่างๆ ไม่มีผลทำให้ความสูงของต้นพริกไทยแตกต่างกันทางสถิติ
ต้นพริกไทยที่อายุ 4 เดือน พบว่า การใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่ร่วมกับสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 และ
ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ต้นพริกไทยมีความสูงเฉลี่ยมากที่สุดคือ 103 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ การใช้
ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ร่วมกับสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 และปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน และการใช้ปุ๋ยหมัก
อัตรา 2 ตันต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ต้นพริกไทยมีความสูงเฉลี่ยเท่ากับ 96.8 และ 95.7