Page 6 - ผลของโดโลไมท์ ปุ๋ยอินทรีย์ และไตรโคเดอร์มาต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตของพริกไทย Effects of dolomite, organic fertilizers and Trichaderma spp. On soil fertility and pepper yield were investigated
P. 6

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                         6


                   ปุ๋ยหมัก
                         ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง เกิดจากการนำเศษวัสดุ เศษพืช เช่น ฟางข้าว แกลบ เปลือกถั่ว

                   ซังข้าวโพด ขุยมะพร้าว กากอ้อย เศษใบไม้ มูลสัตว์ มาหมักรวมกันและผ่านกระบวนการย่อยสลาย โดย
                   กิจกรรมจุลินทรีย์จนเปลี่ยนสภาพไปจากเดิมเป็นวัสดุที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เปื่อยยุ่ย ไม่แข็งกระด้าง และมีสี
                   น้ำตาลปนดำ การใช้ปุ๋ยหมักติดต่อกันอย่างต่อเนื่องมีประโยชน์ต่อการปรับปรุงบำรุงดินทั้งสมบัติทาง
                   กายภาพ เคมี และชีวภาพ ทำให้ดินร่วนซุย การระบายอากาศ และการอุ้มน้ำของดิน เป็นแหล่งธาตุอาหาร

                   พืชทั้งธาตุอาหรหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุ สามารถดูดยึดและเป็นแหล่งเก็บธาตุอาหารในดินไม่ให้
                   ถูกชะล้างสูญหายไปได้ง่าย และปลดปล่อยออกมาให้พืชใช้ประโยชน์ทีละน้อยตลอดฤดูกาล เพิ่มความ
                   ต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน เพิ่มแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดิน ทำให้
                   ปริมาณและกิจกรรมจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มขึ้น (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)


                   เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp.)
                         เป็นเชื้อราปฏิปักษ์ที่สามารถควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้หลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อราที่อยู่ในดิน
                   และสามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตให้แก่พืช ไตรโคเดอร์มาที่สามารถควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชมี

                   หลายสายพันธุ์ เช่น Trichoderma harzianum, T. viride และ T. virens และสามารถควบคุมเชื้อรา
                   สาเหตุโรคพืชหลายชนิด เช่น Phytophthora spp., Pythium spp., Rhizoctonia solani, Fusarium
                   spp., Sclerotium rolfsii., Alternaria spp., Colletotrichum spp., Sclerotinia sclerotiorum และ

                   Botrytis cinerea กลไกการควบคุมโรคของเชื้อราไตรโคเดอร์มามีหลายกลไก ที่สำคัญๆ เช่น การสร้าง
                   สารปฏิชีวนะ การแข่งขัน การเป็นปรสิต และการชักนำให้เกิดความต้านทาน (สายทอง, 2555)
                         การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อราในดิน เช่น การ
                   ควบคุมเชื้อรา Phytophthors parasitica และ P. palmivora สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของพริกไทย
                   โดยไปแย่งอาหารเป็นผลให้เส้นใยเชื้อรา Phytophthors ไม่สามารถเจริญเติบโต และเชื้อราไตรโคเดอร์มา

                   เองสามารถเจริญและเพิ่มปริมาณในดินได้ (วารินและคณะ, 2550) นอกจากนี้ยังช่วยในการเจริญเติบโต
                   ของพริกไทย โดยผลผลิตเพิ่มมากถึง 300% เมื่อเทียบกับไม่ใช้ (Vinale et al., 2008) อาจเป็นเพราะเชื้อ
                   ราไตรโคเดอร์มาสร้างสารเร่งการเจริญเติบโตต่างๆ ได้ หรือเชื้อราไตรโคเดอร์มาสร้างสารไปกระตุ้นให้พืช

                   สร้างสารเร่งการเจริญเติบโตมากกว่าปกติ หรือเชื้อราไตรโคเดอร์มาไปขัดขวางหรือทำลายจุลินทรีย์ต่างๆ
                   ที่รบกวนระบบรากของพืช ทำให้ระบบรากพืชสมบูรณ์ และแข็งแรงสามารถดูดซับอาหารและแร่ธาตุต่างๆ
                   ในดินได้ดี (จิระเดช, 2547; Beniter et al., 2004; Harman et al., 2004) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาผล
                   ของเชื้อราไตรโคเดอร์มาต่อการเจริญเติบโตและการควบคุมโรคแคนตาลูป พบว่าต้นแคนตาลูปที่ใส่เชื้อรา

                   ไตรโคเดอร์มารองก้นหลุมก่อนปลูก มีการเจริญเติบโตทางลำต้นมากที่สุด โดยมีความสูงและจำนวนข้อ
                   เท่ากับ 143.07 เซนติเมตร และ 27.90 ข้อ ตามลำดับ ส่วนผลการเกิดโรคพบว่า ในแปลงที่ใส่เชื้อไตรโค
                   เดอร์มาไม่พบการเกิดโรคราน้ำค้างและโรคเหี่ยว ในขณะที่แปลงที่ไม่ใส่เชื้อไตรโคเดอร์มาพบการเกิดรา
                   น้ำค้าง และโรคเหี่ยว ร้อยละ 26.70 และร้อยละ 80.00 ตามลำดับ (วิพรพรรณ, 2557)


                   สารเร่งซุปเปอร์ พด.3
                         เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชในดิน มีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถทำลายหรือยับยั้ง
                   การเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในดินในสภาพน้ำขังที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการรากเน่าหรือโคนเน่า

                   ประกอบด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma sp.) และเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส (Bacillus sp.)
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11