Page 5 - ผลของโดโลไมท์ ปุ๋ยอินทรีย์ และไตรโคเดอร์มาต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตของพริกไทย Effects of dolomite, organic fertilizers and Trichaderma spp. On soil fertility and pepper yield were investigated
P. 5

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                         5


                                                      หลักการและเหตุผล

                         พริกไทยเป็นพืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
                   ต่อเกษตรกรในภาคตะวันออก แหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี โดยมีพื้นที่ปลูกพริกไทยร้อยละ 95

                   ของพื้นที่ปลูกพริกไทยทั้งประเทศ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2555) แต่ในปัจจุบันพื้นที่ปลูก
                   พริกไทยได้ลดจำนวนลง สาเหตุจากปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน อันเนื่องมาจากพื้นที่ส่วนใหญ่มีการทำ
                   การเกษตรมาเป็นเวลานาน มีการใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณมากและต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน ดินจึงมี
                   ความอุดมสมบูรณ์ต่ำและทำให้มีปฏิกิริยาเป็นกรด และปัญหาการระบาดของโรคเชื้อราในดินทำให้ราก

                   และโคนเน่า ซึ่งส่งผลให้ต้นพริกไทยตายหรือทรุดโทรมลง จากสาเหตุดังกล่าวมีผลกระทบต่อการ
                   เจริญเติบโตของพืชทำให้ผลผลิตลดต่ำลง ในขณะที่ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี สำหรับ
                   วิธีการแก้ไขปัญหาดินมีปฏิกิริยาเป็นกรดนี้สามารถปฏิบัติได้หลายวิธีการ การใช้วัสดุปูนแก้ไขความเป็น
                   กรดของดินเป็นวิธีการหนึ่งที่สะดวกช่วยเพิ่มปฏิกิริยาดินได้รวดเร็วกว่าวิธีอื่นและลงทุนต่ำ และถ้ามีการใช้

                   ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ดังนั้นจึงควรมี
                   การศึกษาผลของการใช้โดโลไมท์ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ทำให้ความเป็นกรดลดลง และมี
                   การนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาซึ่งเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชและ

                   สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตให้แก่พืชมาใช้ร่วมด้วย เพื่อควบคุมการเกิดโรคของต้นพริกไทย ซึ่ง
                   คาดว่าจะช่วยเพิ่มผลผลิตพริกไทยทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง รวมทั้ง
                   ยังเป็นการช่วยปรับปรุงบำรุงดิน


                                                         วัตถุประสงค์

                       1. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินภายใต้วิธีการจัดการดินต่างๆ
                       2. ศึกษาผลของวัสดุปรับปรุงดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกไทย

                       3. ศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเหนือต้นทุนผันแปร


                                                       การตรวจเอกสาร

                   โดโลไมท์ (dolomitic limestone)
                         เป็นหินที่พบมากกระจัดกระจายทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย หินโดโลไมท์มักเกิดใกล้ภูเขาหินปูน

                   หรือเกิดเป็นชั้นหินปูนปนแร่โดโลไมท์ที่มีแร่โดโลไมท์ปะปนอยู่ระหว่างร้อยละ 10-50 นอกนั้นเป็นแร่แคล
                   ไซต์ เรียกว่า หินโดโลไมท์ (dolomitic limestone) ซึ่งจัดได้ว่าเป็นหินปูนที่มีการผลิตออกมาจำหน่ายและ
                   ใช้ในการเกษตรมาก หรือมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าหินปูนแคลเซียมคาร์บอเนต แหล่งสำคัญที่มีการทำ
                   เหมืองเพื่อผลิตออกมาใช้ประโยชน์ได้แก่แหล่งหินโดโลไมท์ในจังหวัดกาญจนบุรี ชลบุรี จันทบุรี และสงขลา

                   ในทางการค้า มีการผลิตหินโดโลไมท์บดเพื่อจำหน่ายในประเทศไทยในชื่อการค้าต่างๆ มากพอสมควร
                   วัตถุประสงค์ของการจัดจำหน่ายและการใช้ประโยชน์ในทางการเกษตรส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้ปรับปรุงดินทั้ง
                   ด้านสมบัติทางกายภาพ และทางเคมี (ปรับปรุงปฏิกิริยาดินหรือ pH ของดิน) และด้านธาตุอาหารพืชในรูป
                   แคลเซียมและแมกนีเซียมเป็นสำคัญ (ปิยะ, 2553)
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10