Page 11 - ผลของโดโลไมท์ ปุ๋ยอินทรีย์ และไตรโคเดอร์มาต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตของพริกไทย Effects of dolomite, organic fertilizers and Trichaderma spp. On soil fertility and pepper yield were investigated
P. 11
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
11
ผลการทดลองและวิจารณ์
จากการทดลองปลูกพริกไทย โดยการใช้โดโลไมท์ ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับเชื้อไตรโคเดอร์ และปุ๋ยเคมี
ด้วยวิธีการต่างๆ ในปี 2561-2563 รวม 3 ปี ได้ทำการบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตและผลผลิตพริกไทย
ปรากฏผลดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน
ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลองแบบ composite sample และหลังสิ้นสุดการ
ทดลองเก็บตัวอย่างดินที่ระดับความลึก 0-20 เซนติเมตร นำมาวิเคราะห์ผลปรากฏว่าสมบัติทางเคมี
เปลี่ยนแปลง ดังนี้
1.1 ปฏิกิริยาความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ก่อนการทดลองดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
5.0 มีค่าความต้องการปูนของดิน (LR) 624 กิโลกรัมต่อไร่ หลังสิ้นสุดการทดลอง พบว่า ค่าความเป็นกรด
เป็นด่างของดินมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 5.4-5.7 ทั้งนี้ เนื่องมาจากมีการใช้ปูน
โดโลไมท์ปรับค่า pH ตามค่าความต้องการปูนของดิน (ตารางที่ 1)
1.2 อินทรียวัตถุในดิน ก่อนการทดลองดินมีปริมาณอินทรียวัตถุเริ่มต้น 1.8 เปอร์เซ็นต์ หลังสิ้นสุด
การทดลองพบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีการเปลี่ยนแปลง โดยการใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่และ
ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณอินทรียวัตถุสะสมในดินสูงที่สุดเท่ากับ คือ 2.2 เปอร์เซ็นต์ รองลงไป
ได้แก่ การใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่ร่วมกับไตรโคเดอร์มา และปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณ
อินทรียวัตถุสะสมในดินเท่ากับ 2.1 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่แปลงควบคุม มีปริมาณอินทรียวัตถุสะสมในดิน
ลดลงเท่ากับ 1.7 เปอร์เซ็นต์ (ตารางที่ 1)
1.3 ปริมาณฟอสฟอรัสในดิน ก่อนการทดลองมีปริมาณฟอสฟอรัสในดินเริ่มต้น 9.3 มิลลิกรัมต่อ
กิโลกรัม หลังสิ้นสุดการทดลองพบว่า ปริมาณฟอสฟอรัสในดินมีการเปลี่ยนแปลง โดยการใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 2
ตันต่อไร่ร่วมกับไตรโคเดอร์มา และปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูงที่สุด
เท่ากับ คือ 106.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงไปได้แก่ การใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมีตาม
ค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์เท่ากับ 99.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ขณะที่แปลงควบคุม
มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำสุดเท่ากับ 29 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ตารางที่ 1)
1.4 ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ ก่อนการทดลองมีปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์
เริ่มต้น 65.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลังสิ้นสุดการทดลองพบว่า ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์มีการ
เปลี่ยนแปลง โดยการใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่ร่วมกับไตรโคเดอร์มา และปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มี
ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์สูงที่สุดเท่ากับ คือ 173.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมาได้แก่ การใช้
ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ร่วมกับไตรโคเดอร์มา และปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณโพแทสเซียมที่เป็น
ประโยชน์เท่ากับ 158 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณ
โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่ำสุดเท่ากับ 93 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ตารางที่ 1)
1.5 ปริมาณแคลเซียมในดิน ก่อนการทดลองมีปริมาณแคลเซียมในดินเริ่มต้น 156 มิลลิกรัมต่อ
กิโลกรัม หลังสิ้นสุดการทดลองพบว่า ปริมาณแคลเซียมในดินมีการเปลี่ยนแปลง โดยการใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 4
ตันต่อไร่ร่วมกับไตรโคเดอร์มา และปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณแคลเซียมสะสมในดินสูงสุดเท่ากับ
454.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงไปได้แก่ การใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์
ดิน มีปริมาณแคลเซียมในดินเท่ากับ 423.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ขณะที่แปลงควบคุม มีปริมาณแคลเซียม