Page 23 - การศึกษาการผลิตถ่านชีวภาพและทดลองใช้ปรับปรุงดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม Study of Biochar Production and Sol Amendment Trial for Andrographis Herb in Participatory Guarantee Systems far Organic Agriculture
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          16




                                                       สรุปผลการทดลอง
                                จากการทดลองการใช้ถ่านชีวภาพในการปรับปรุงดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลาย

                  โจรในระบบเกษตรอินทรีย์ PGS วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)
                  จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 8 ตำรับการทดลอง พบว่า ผลการวิเคราะห์ดินก่อนการทดลอง ค่าความเป็นกรด

                  เป็นด่างของดินเป็นกรดรุนแรงถึงเป็นกลาง หลังเก็บเกี่ยวค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินเป็นกรดเล็กน้อยถึง

                  เป็นกลาง ซึ่งแต่ละตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่มีแนวโน้มสูงกว่าแปลงควบคุม สำหรับ
                  ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีค่าปานกลางไม่แตกต่างกันทั้งก่อนการทดลองและหลังเก็บเกี่ยว ปริมาณฟอสฟอรัส

                  ที่เป็นประโยชน์ในดินมีค่าต่ำมากไม่แตกต่างกันทั้งก่อนการทดลองและหลังเก็บเกี่ยว สำหรับปริมาณ

                  โพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินเพิ่มขึ้นในช่วงแรกและลดลงในช่วงหลังเก็บเกี่ยว โดยในดินหลังเก็บเกี่ยวทุกตำรับ
                  การทดลองปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้มีปริมาณสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับแปลงควบคุม  แสดง

                  ว่าปุ๋ยอินทรีย์และถ่านชีวภาพช่วยเพิ่มปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดิน แต่ไม่เพียงพอต่อฟ้าทะลายโจร ทำ

                  ให้ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินเฉลี่ยหลังเก็บเกี่ยวลดลงเมื่อเทียบกับในดินก่อนการทดลองและหลังปลูก
                  1 เดือน สำหรับความสูงหลังปลูก 1 เดือน ในแปลงควบคุมและตำรับการทดลองถ่านชีวภาพ อัตรา 1 ตันต่อไร่

                  มีค่าต่ำกว่าตำรับการทดลองอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 2 เดือน มีแนวโน้มเช่นเดียวกับความสูงหลัง
                  ปลูก 1 เดือน ส่วนตอนเก็บเกี่ยวความสูงไม่แตกต่างกันทางสถิติ สำหรับผลผลิตน้ำหนักสด น้ำหนักแห้งก็ไม่

                  แตกต่างกันทางสถิติและมีความแปรปรวนมาก ในส่วนของปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ในฟ้าทะลายโจรทั้ง

                  8 ตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่ปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์มีสัมพันธ์กับค่าความเป็น
                  กรดเป็นด่างของดิน และในสภาพดินเป็นด่างการใส่ถ่านชีวภาพ อัตรา 1 ตันต่อไร่ ทำให้ฟ้าทะลายโจรมีอาการ

                  ใบเหลือง และปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ในฟ้าทะลายโจรลดลง โดยสรุปสำหรับการทดลองในแง่ความคุ้ม
                  ทุนการปลูกฟ้าทะลายโจรในระบบเกษตรอินทรีย์สำหรับดินที่มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินปานกลาง ไม่

                  จำเป็นต้องปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์และถ่านชีวภาพ แต่ในระยะยาวจะทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ลดลง

                  การใส่ปุ๋ยอินทรีย์และถ่านชีวภาพจะช่วยรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินไม่ให้ลดลงกว่าเดิมได้


                                                          ข้อเสนอแนะ

                         จากการทดลองแม้พบว่า การใช้ถ่านชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ ในฟ้าทะลายโจรระบบเกษตรอินทรีย์
                  แบบมีส่วนร่วม ไม่ทำให้ผลผลิตแตกต่างกันทางสถิติ เนื่องจากอาจมีผลจากการจัดการแปลง สภาพภูมิอากาศ

                  แต่ทำให้คุณภาพดินดีขึ้น ในระยะยาวในแง่ของความยั่งยืน เชื่อว่าทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้ และต้องมีการ
                  ปรับปรุงสูตรปุ๋ยอินทรีย์ให้มีปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูงขึ้น อีกปัญหาของการทำเกษตรอินทรีย์ใน

                  พื้นที่มากๆ คือ การขาดแคลนแรงงานคน ในการดูแลจัดการพื้นที่ เช่น การกำจัดวัชพืช  อาจประยุกต์ใช้

                  เทคโนโลยี เครื่องจักรกล การปราบศัตรูพืชใช้ศัตรูธรรมชาติ ตัวห้ำตัวเบียน หรือเชื้อจุลินทรีย์ในการป้องกัน
                  กำจัด  และการใช้แรงงานคนทำให้ต้นทุนสูง จากเอกสารวิชาการของ อำนาจ (2560) แสดงให้เห็นว่า การผลิต

                  พืชอินทรีย์ ซึ่งไม่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีเป็นการผลิตที่ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยผลผลิตสูง พืชถูกโรคและ
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28