Page 33 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดำ ไพล และบัวบก
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           3-13





                          13)  ความเสียหายจากการกัดกร่อน (Erosion hazard)

                            คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทนได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่และปริมาณดินที่สูญเสีย

                  (Soil loss) พื้นที่มีความลาดชันสูงโอกาสที่ดินจะถูกกัดกร่อนก็เป็นไปได้ง่ายขึ้น เมื่อผิวหน้าดินถูกกัด

                  กร่อนซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากอิทธิพลของนํ้า ดินจะถูกพัดพาไปโดยขบวนการไหลบ่าของนํ้าทําให้ธาตุ
                  อาหารพืชที่อยู่ในดินสูญเสียตามไป รวมทั้งตะกอนที่เกิดขึ้นจะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม

                  โดยทั่วไป

                            การวัดและประเมินคุณภาพที่ดิน

                            เนื่องจากคุณภาพที่ดินสําหรับพืชสมุนไพรเป็นนามธรรมไม่สามารถวัดออกเป็นค่า
                  (Value) เชิงปริมาณได้ในการจะบอกว่า ดี เลว และข้อจํากัดว่ามีมากน้อยรุนแรงอย่างไร แต่หาก

                  จําเป็นต้องมีการวัดคุณภาพที่ดินสําหรับพืชสมุนไพร สามารถหาได้จากองค์ประกอบของคุณภาพ

                  ที่ดินคือ คุณลักษณะที่ดิน (Land characteristic) ซึ่งในบางกรณีจะมีคุณลักษณะที่ดินเพียงตัวเดียว หรือ
                  บางกรณีอาจมีหลายตัว ซึ่งแต่ละตัวมีหน่วยวัดต่างกัน จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่คุณภาพที่ดินไม่มีหน่วย

                  วัด และจากที่ใช้คุณลักษณะที่ดินหลายตัวเป็นตัวแทนคุณภาพที่ดินเดียวกัน  ดังนั้นจึงมีการคาดคะเน

                  ผลจากการร่วมกันของปัจจัยต่าง ๆ (Diagnostic factors) ในที่นี้ใช้หลักการประเมินจากกลุ่ม
                  คุณลักษณะที่ดินมีข้อจํากัดรุนแรงที่สุด (Most limiting group of land characteristics) โดยมีข้อดี คือมี

                  ความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตโดยตรง และข้อเสีย คือการประเมินเริ่มซับซ้อน

                  มากขึ้น และความรุนแรงของข้อจํากัดอาจมีผลร่วมจากปัจจัยอื่นที่มิได้นํามาประเมิน

                  3.4  ความต้องการของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land-use requirements) สําหรับ

                  พืชสมุนไพร


                            การผลิตพืชสมุนไพรแต่ละชนิดโดยทั่วไปมีความต้องการปัจจัยและสิ่งแวดล้อมที่
                  เหมาะสมแตกต่างกัน ความต้องการปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและ

                  การให้ผลผลิตของพืชสมุนไพรนั้นเรียกว่า “ความต้องการด้านพืช” (Crop requirements) ขณะเดียวกัน

                  สําหรับเกษตรกรผู้ผลิตพืชสมุนไพรเองนั้นควรต้องพิจารณาถึงความต้องการทางด้านเทคโนโลยีการ
                  ผลิต การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยวผลผลิต เครื่องมือและเครื่องจักรกล การใช้ปุ๋ ยเคมีและสารเคมี

                  แรงงานในการผลิต เงินทุน และผลตอบแทนในการผลิตพืชสมุนไพรแต่ละชนิด ความต้องการ

                  ทางด้านนี้เรียกว่า “ความต้องการด้านการจัดการ” (Management requirements) และความต้องการอีก
                  ด้านหนึ่งเพื่อที่สามารถใช้ทรัพยากรที่ดินผลิตพืชสมุนไพรได้ตลอดไปอย่างยั่งยืนโดยไม่ทําลาย

                  คุณภาพของที่ดิน หรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ความต้องการทางด้านนี้เรียกว่า “ความต้องการด้านการ

                  อนุรักษ์” (Conservation requirements) จากความต้องการปัจจัยและสิ่งแวดล้อมทั้ง 3 ด้านนี้ จึง





                  แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดํา ไพล และบัวบก        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38