Page 36 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดำ ไพล และบัวบก
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           3-16





                  และงานวิจัยจากหน่วยงานราชการ และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมถึงการเก็บข้อมูลจากการสํารวจและ

                  สัมภาษณ์เกษตรกรในแหล่งปลูกสมุนไพรที่สําคัญภายในประเทศ นอกจากนี้ ยังใช้ข้อมูลความ

                  ต้องการของพืชสมุนไพรที่อยู่ในวงษ์ (Family) เดียวกันและมีลักษณะการเจริญเติบโตใกล้เคียงกันใน
                  การพิจารณาร่วมด้วย จากนั้นนํามาแบ่งเป็นระดับต่าง ๆโดยอ้างอิงการแบ่งระดับของปัจจัยในพืชที่อยู่

                  วงษ์เดียวกัน และมีลักษณะการเจริญเติบโตใกล้เคียงกันซึ่งอยู่ในคู่มือการประเมินคุณภาพที่ดินสําหรับ

                  พืชเศรษฐกิจของกรมพัฒนาที่ดิน อย่างไรก็ตามค่าพิสัยของคุณภาพที่ดินบางชนิด มีข้อจํากัดด้าน

                  ข้อมูลได้แก่ปริมาณอินทรียวัตถุ ชั้นการหยั่งลึกของราก จํานวนครั้งที่นํ้าท่วมในช่วงรอบปีที่กําหนด
                  และปริมาณดินที่สูญเสีย เป็นต้น จึงไม่ได้นํามาใช้ในการประเมินระดับชั้นความเหมาะสมของที่ดิน

                  สําหรับพืชสมุนไพรทั้ง 4 ชนิดในครั้งนี้











































                  แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดํา ไพล และบัวบก        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41