Page 35 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดำ ไพล และบัวบก
P. 35
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3-15
S3 หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อยสําหรับพืชสมุนไพร (Marginally suitable )
N หมายถึง ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสมสําหรับพืชสมุนไพร (Not suitable)
นอกจากนี้ในแต่ละชั้นของความเหมาะสม (Class) ยังแบ่งออกเป็นชั้นย่อย (Subclass)
ซึ่งเป็นข้อจํากัดของคุณภาพที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชสมุนไพร เช่นความเสียหาย
จากการกัดกร่อน (e) สภาวะการหยั่งลึกของราก (r) และความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (n) เป็นต้น
ตารางที่ 3-4 โครงสร้างการจําแนกชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
Order Class Subclass
S : Suitable S1
S2 S2m
S3 S2e
S2me
N : Not suitable N
3.6 คุณภาพที่ดินที่ใช้ในการประเมินและชั้นความเหมาะสมของที่ดินสําหรับสมุนไพร
การจัดทําค่าพิสัยของคุณภาพที่ดินของพืชสมุนไพร มีการดําเนินการ 3 วิธี ร่วมกัน คือ
1) ดัดแปลงจากตารางค่าพิสัยของคุณภาพที่ดินของพืชสมุนไพรจากพืชที่อยู่ในวงษ์
เดียวกัน หรือมีลักษณะการเจริญเติบโตใกล้เคียงกับในคู่มือ การประเมินคุณภาพที่ดินสําหรับพืช
เศรษฐกิจ ของกองวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
2) ข้อมูลสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต ของกรมส่งเสริม
การเกษตร กรมวิชาการเกษตร หนังสือและวารสารงานวิจัยต่างๆ
3) ข้อมูลจากการศึกษาในภาคสนาม และการสัมภาษณ์กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูก โดยเน้นใน
จังหวัดที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองสมุนไพร (Herbal City)
ในการประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพสําหรับพืชสมุนไพร 4 ชนิด (ขมิ้นชัน กระชาย
ดํา ไพล และบัวบก) นั้นใช้คุณภาพที่ดินทั้ง 12 ชนิดโดยใช้ตามคู่มือการประเมินคุณภาพที่ดินสําหรับ
พืชเศรษฐกิจ ของกองวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (บัณฑิต และคํารณ, 2542) ซึ่งใช้หลักการ
เดียวกันกับของ FAO Framework ปี 1983 ซึ่งเป็นวิธีที่กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนา
ที่ดิน ใช้ประเมินคุณภาพที่ดินสําหรับพืชเศรษฐกิจต่างๆในปัจจุบัน สําหรับการแบ่งระดับของปัจจัย
(Factor rating) นั้นใช้ข้อมูลความต้องการของพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ที่อ้างอิงมาจากเอกสารวิชาการ
แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดํา ไพล และบัวบก กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน