Page 31 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดำ ไพล และบัวบก
P. 31
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3-11
9) การมีเกลือมากเกินไป (Excess of salts)
คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทนได้แก่ปริมาณเกลืออิสระที่สะสมมากเกินพอจนเป็น
อันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืชสมุนไพร มี exchangeable Na < 15 % หรือที่เรียกว่า Salinity ซึ่งจะ
มีอิทธิพลที่ทําความเสียหายให้กับพืชสมุนไพรโดยขบวนการ Osmosis กล่าวคือ ถ้ามีเกลือสะสมใน
ดินมากปริมาณนํ้าในรากและต้นจะถูกดูดออกมาทําให้ต้นพืชสมุนไพรขาดนํ้า ถ้าความเค็มมีระดับสูง
มากอาจทําให้ตายได้ พืชสมุนไพรแต่ละชนิดจะมีความสามารถในการทนทานต่อปริมาณเกลือ
แตกต่างกันไป
10) สารพิษ (Soil Toxicities)
คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทนได้แก่ ระดับความลึกของชั้น jarosite ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อ
ปฏิกิริยาดินจะทําให้ดินเป็นกรดจัดมาก ปริมาณซัลเฟตของเหล็กและอลูมินั่มในดินจะสูงมากจนเป็น
พิษต่อพืชสมุนไพร
11) สภาวะการเขตกรรม (Soil workability)
คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทนได้แก่ ชั้นความยากง่ายในการเขตกรรม ซึ่งอาจหมายถึง
การไถพรวนโดยเครื่องจักรหรือสัตว์ หรือเครื่องมืออื่นๆ ที่ใช้มือก็ได้ ชั้นระดับความยากง่ายในการ
ไถพรวนใช้มาตรฐานเดียวกันกับการจัดลําดับการหยั่งลึกของราก แต่ใช้เฉพาะดินบนเท่านั้น
12) ศักยภาพการใช้เครื่องจักร (Potential for mechanization)
คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทนได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่ ปริมาณหินโผล่ ปริมาณ
ก้อนหิน และการมีเนื้อดินเหนียวจัด ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 เหล่านี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการไถพรวนโดย
เครื่องจักรดังตารางที่ 3-2
ตารางที่ 3-2 การจัดลําดับชั้นศักยภาพการใช้เครื่องจักรกล
คุณลักษณะของที่ดิน หน่วย ชั้นศักยภาพการใช้เครื่องจักรกล
1 2 3 4 5
ความลาดชัน % < 5 5-12 12-35 35-50 > 50
หินพื้นโผล่ % 1 4 10 25 > 25
หินก้อน (หินบน) % 1 5 15 40 > 40
ดินเหนียวจัด - ไม่มี ไม่มี มี/ไม่มี มี/ไม่มี มี/ไม่มี
ค่าตัวเลขแสดงพิสัยทุกค่าเป็นค่าสูงสุด (Upper limit) ในแต่ละชั้นศักยภาพ
แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดํา ไพล และบัวบก กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน