Page 28 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดำ ไพล และบัวบก
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3-8
ชั้นมาตรฐานของความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (C.E.C.)
ระดับ ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (meq/100 gm soil)
1) ตํ่ามาก < 3
2) ตํ่า 3-5
3) ตํ่าปานกลาง 5-10
4) ปานกลาง 10-15
5) ค่อนข้างสูง 15-20
6) สูง 20-30
7) สูงมาก > 30
ชั้นมาตรฐานของความอิ่มตัวด้วยด่าง (B.S.)
ระดับ ความอิ่มตัวด้วยด่าง (%)
1) ตํ่า < 35
2) ค่อนข้างตํ่า 35-50
3) ปานกลาง 50-75
4) สูง > 75
7) สภาวะการหยั่งลึกของราก (Rooting conditions)
คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทนได้แก่ ความลึกของดิน ความลึกของระดับนํ้าใต้ดินและ
ชั้นการหยั่งลึกของราก (Root penetration classes)
ความลึกของดินมีส่วนสัมพันธ์กับความลึกของระบบรากในการหยั่งเพื่อหาอาหารและ
ยึดลําต้น ดินที่มีความลึกมากโอกาสที่รากจะเจริญเติบโตก็เป็นไปได้ง่าย นอกจากนี้ระดับนํ้าจากใต้ดิน
จะเป็นตัวควบคุมการเจริญเติบโตของรากด้วย ถ้าระบบนํ้าใต้ดินตื้น โอกาสที่รากจะเจริญเติบโตไปสู่
เบื้องล่างก็เป็นไปได้ยากเพราะดินล่างจะขาดออกชิเจน
ชั้นมาตรฐานความลึกของดิน
ระดับ ความลึกของดิน (เซนติเมตร)
1) ตื้นมาก < 25
2) ตื้น 25-50
3) ลึกปานกลาง 50-100
4) ลึก 100-150
5) ลึกมาก > 150
แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดํา ไพล และบัวบก กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน