Page 29 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดำ ไพล และบัวบก
P. 29
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3-9
ความยากง่ายต่อการหยั่งลึกของรากในดิน มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ลักษณะเนื้อดิน
โครงสร้างการเกาะตัวของดิน (Consistence) และปริมาณกรวดหรือเศษหินที่พบในหน้าตัดดิน ค่าการ
หยั่งลึกของรากสามารถจําแนกได้เป็น 4 ชั้นดังตารางที่ 3-1
8) ความเสียหายจากนํ้าท่วม (Flood hazard)
คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทนได้แก่ จํานวนครั้งที่นํ้าท่วมในช่วงรอบปีที่กําหนดไว้
หมายถึง พืชสมุนไพรได้รับความเสียหายจากการที่นํ้าท่วมบนดินชั่วระยะเวลาหนึ่ง หรือเป็นนํ้าที่มี
การไหลบ่า การที่นํ้าท่วมขังจะทําให้ดินขาดออกชิเจน ส่วนนํ้าไหลบ่าจะทําให้รากได้รับความ
กระทบกระเทือน หรือรากอาจหลุดพ้นผิวดินขึ้นมาได้ ความเสียหายจากนํ้าท่วมไม่ใช่จะเกิดกับพืช
สมุนไพรเท่านั้น แต่ยังทําความเสียหายให้กับดิน และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้
ที่ดิน
ชั้นมาตรฐานความเสียหายจากนํ้าท่วม
ระดับ ความถี่ของการเกิดนํ้าท่วม
1) ตํ่า 10 ปีขึ้นไปเกิด 1 ครั้ง
2) ค่อนข้างตํ่า 6-9 ปีเกิด 1 ครั้ง
3) ปานกลาง 3-5 ปีเกิด 1 ครั้ง
4) สูง 1-2 ปีเกิด 1 ครั้ง
แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน กระชายดํา ไพล และบัวบก กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน