Page 42 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คำฝอย ตะไคร้ พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก
P. 42
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2-30
ช่อดอก เจริญจากโคนลําต้น ก้านช่อดอก สั้น ช่อดอก กว้าง 6-7 เซนติเมตร
ยาว 13-15 เซนติเมตร ใบประดับ รูปไข่แกมหอก พบตามป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วๆไป
ภาพจาก : http://www.biogang.net/plant_view.php?uid=46450&id=185794
2.10.2 แหล่งปลูกที่เหมาะสม
เจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 18 – 35 องศาเซลเซียส สภาพพื้นที่สูงจาก
ระดับนํ้าทะเลไม่เกิน 800 เมตร พื้นที่ราบไม่มีนํ้าท่วมขัง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วน
ปนทรายที่มีการระบายนํ้าดี ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ของดิน ที่ความเหมาะสมอยู่ในช่วง 5.5 –
6.5 ค่าการนําไฟฟ้ าของดิน (EC) สูงไม่เกิน 1.5 ds/m ปริมาณนํ้าฝนที่เหมาะสม คือ มากกว่า 1,500
มิลลิเมตรต่อปี
2.10.3 ประโยชน์และสรรพคุณ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้เหง้า ฝนทาแผล แก้พิษสุนัขกัด
ตํารายาไทย เหง้า รักษาเลือดออกจากมดลูกหลังคลอด รักษามดลูกอักเสบ แก้ตับอักเสบ
แก้ปวดท้อง ขับนํ้าดี รักษาอาการประจําเดือนมาไม่ปกติ ปวดท้องระหว่างมีประจําเดือน ตกขาว
ขับนํ้าคาวปลา แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย แก้ริดสีดวงทวาร
หัว ตําดองด้วยสุรารับประทานครั้งละไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะ สําหรับคนคลอดบุตรใหม่ ๆ
แก้เจ็บปวดมดลูก ทําให้มดลูกเข้าอู่หรือเข้าที่ ไม่อักเสบ ในชายที่เป็นไส้เลื่อน หรือกระษัยกล่อนลง
ฝักปวดเสียวลูกอัณฑะ อัณฑะแข็งเป็นเส้น เจ็บปวด ใช้หัวฝนกับสุราทาบริเวณที่เจ็บปวด เป็นเวลา
3-4 วัน
2.10.4 สารธรรมชาติออกฤทธิ์
เหง้าพบสารกลุ่ม diarylheptanoids หลายชนิด สารกลุ่มโมโนเทอร์ปีนที่พบ ได้แก่
comosoxides A, comosoxides B ส่วนเหนือดิน สารฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์
แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร
กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คําฝอย ตะไคร้ บุก พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน