Page 47 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คำฝอย ตะไคร้ พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก
P. 47

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           3-5





                          4)  ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (Oxygen availability)

                            คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทนได้แก่ สภาพการระบายนํ้าของดิน ทั้งนี้เพราะพืช

                  สมุนไพรโดยทั่วไป รากต้องการออกชิเจนในขบวนการหายใจ ดังนั้นเมื่อพิจารณาถึงปัจจัยของดินที่มี

                  สภาพการระบายนํ้าดีจะมีการถ่ายเทอากาศระหว่างเหนือผิวดินกับภายในดินได้ดี ส่วนในดินที่มีสภาพ
                  การระบายนํ้าเลวทําให้การถ่ายเทอากาศเป็นไปได้น้อย ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในดินที่ถูกรากดูด

                  ไปมีปริมาณลดลง แต่ในขณะที่คาร์บอนไดออกไซด์ในดินที่ได้จากขบวนการหายใจเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมี

                  ผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของราก และอาจตายได้ในภาวะที่รากขาดออกซิเจนอย่างรุนแรงและ
                  เป็นเวลานาน



                            ชั้นมาตรฐานการระบายนํ้าของดินสําหรับสมุนไพรแบ่งออกเป็น 6 ชั้นดังนี้
                             1. Very Poorly Drained

                             2. Poorly Drained

                             3. Somewhat poorly Drained
                             4. Moderately Well Drained

                             5. Well Drained

                             Excessively Drained


                          5)  ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (Nutrient availability)

                            คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทนได้แก่ ปริมาณธาตุอาหารพืชในดิน ในที่นี้พิจารณาเฉพาะ

                  ธาตุหลักคือธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ซึ่งเป็ นธาตุอาหารที่สําคัญต่อการ
                  เจริญเติบโตของพืชสมุนไพรทุกชนิด ประกอบกับการพิจารณาถึงปฏิกิริยาดิน ซึ่งจะมีผลต่อลักษณะ

                  ทางเคมีของธาตุอาหารพืชในดินที่อยู่ในรูปที่พืชสามารถนําธาตุนั้นไปใช้ได้หรือไม่ นอกจากนั้นแล้ว

                  ปฏิกิริยาดินจะมีผลต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน ซึ่งมีส่วนสําคัญในขบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุ

                  ด้วย




















                  แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร
                  กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คําฝอย ตะไคร้ บุก พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก   กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52