Page 43 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คำฝอย ตะไคร้ พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก
P. 43

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                                                         บทที่ 3


                              การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพสําหรับพืชสมุนไพร

                                            (Qualitative Land Evaluation)



                  3.1  คุณภาพที่ดิน (Land Quality)


                        คุณภาพที่ดิน คือ คุณสมบัติของที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช

                  คุณภาพที่ดินอาจประกอบด้วยคุณลักษณะที่ดิน (Land  characteristic)  ตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้

                  เช่น ความเป็นประโยชน์ของออกชิเจนต่อรากพืช (Oxygen availability to roots) เป็นคุณภาพที่ดินซึ่ง
                  มีผลมาจากคุณลักษณะของที่ดินหลายตัว เช่น ชั้นการระบายนํ้าของดิน (Soil  drainage  class)

                  ความลึกของระดับนํ้าใต้ดิน (Depth  of  water  table)  และระยะเวลาของนํ้าท่วมขัง (Period  of

                  waterlogging)   เป็นต้น จะเห็นว่าคุณภาพที่ดินนั้นในแต่ละสิ่งแวดล้อมนั้น มีคุณลักษณะที่ดินที่มี
                  อิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชและความรุนแรงอาจไม่เท่ากันหรือคนละตัว การประเมินคุณภาพ

                  ที่ดินจึงจําเป็นต้อง “ชั่งนํ้าหนัก” ว่าสถานการณ์ใดควรจะใช้คุณลักษณะที่ดินใดเป็นตัวนํา โดยคุณภาพ

                  ที่ดินที่นํามาประเมินสําหรับการปลูกพืชในระบบของ FAO  Framework  ได้กําหนดไว้ทั้งหมด 25
                  ชนิด ดังนี้

                          1)  ความเข้มของแสงอาทิตย์ (Radiation regime) : u

                          2)  อุณหภูมิ (Temperature regime) : t

                          3)  ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (Moisture availability) : m
                          4)  ความเป็นประโยชน์ของออกชิเจนต่อรากพืช (Oxygen availability to root) : o

                          5)  ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (Nutrient availability) : s

                          6)  ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (Nutrient retention capacity) : n
                          7)  สภาวะการหยั่งลึกของราก (Rooting conditions) : r

                          8)  สภาวะที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพืช (Conditions as affecting germination) : g

                          9)  ความชื้นในอากาศที่มีผลต่อการเจริญเติบโต (Air humidity as affecting growth) : h

                          10)  สภาวะการสุกแก่ (conditions for ripening) : i
                          11)   ความเสียหายจากนํ้าท่วม (Flood hazard) : f

                          12)  ความเสียหายจากภูมิอากาศ (Climatic hazard) : c

                          13)  การมีเกลือมากเกินไป (Excess of salts) : x
                          14)  สารพิษ (Soil toxicities) : z





                  แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร
                  กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คําฝอย ตะไคร้ บุก พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก   กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48