Page 44 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คำฝอย ตะไคร้ พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           3-2





                          15)  โรคและศัตรูพืช (Pasts and diseases) : p

                          16)  สภาวะการเขตกรรม (Soil workability) : k

                          17)  ศักยภาพการใช้เครื่องจักร (Potential for mechanization) : w
                          18)  สภาวะสําหรับการเตรียมดิน (Conditions for land preparation) : v

                          19)  สภาวะสําหรับการกักเก็บและแปรรูป (Conditions for storage and processing) : q

                          20)  สภาวะที่มีผลต่อเวลาให้ผลผลิต (Conditions affecting timing of production) : y

                          21)  การเข้าถึงพื้นที่ (Access within the production unit) : a
                          22)  ขนาดของหน่วยศักยภาพการจัดการ (Size of potential management units) : b

                          23)  ที่ตั้ง (Location) : l

                          24)  ความเสียหายจากการกัดกร่อน (Erosion hazard) : e
                          25)  ความเสียหายจากการแตกทําลาย (Degradation hazard) : d

                        สําหรับการประเมินคุณภาพที่ดินของประเทศไทย ได้นํามาใช้ทั้งหมด 13 ชนิด ขึ้นอยู่กับความ

                  พร้อมของข้อมูล ความแตกต่างของภูมิภาค และระดับความรุนแรงของคุณลักษณะที่ดินที่มีผลต่อ

                  ผลผลิต รวมถึงชนิดพืชและความต้องการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land use requirements) ซึ่งจะกล่าวใน
                  รายละเอียดต่อไป

                  3.2  หลักเกณฑ์การเลือกคุณภาพที่ดินเพื่อใช้ในการประเมินความเหมาะสมของที่ดิน

                  สําหรับพืชสมุนไพร


                        เนื่องจากคุณภาพที่ดินมีทั้งหมด 25 ชนิด ประกอบด้วยคุณลักษณะที่ดินจํานวนมาก ถ้าจะนํา

                  คุณภาพที่ดินทั้งหมดมาประเมินความเหมาะสมของที่ดินสําหรับพืชสมุนไพร อาจทําให้ผลที่ได้ไม่
                  ตรงกับความจริง จึงมีการกําหนดเงื่อนไขในการคัดเลือกคุณภาพที่ดินที่จะใช้ประเมินความเหมาะสม

                  ของที่ดินว่าจะต้องมีครบ 3 ประการ ดังนี้

                          1)  ต้องมีผลกระทบต่อพืชสมุนไพรนั้นๆ  โดยมีผลกระทบในระดับต่างๆได้แก่ ผลกระทบ
                  มากคือมีผลกระทบทันทีทันใด ผลกระทบปานกลางคือมีผลกระทบมากพอสังเกตได้ และผลกระทบ

                  น้อยคือมีผลกระทบน้อยมากจนสามารถมองข้ามไปได้

                          2)  ค่าวิกฤตของคุณภาพที่ดินต้องพบในพื้นที่ที่จะปลูกพืชสมุนไพรนั้นๆ  แบ่งออกเป็น

                  ระดับต่างๆได้แก่ เกิดขึ้นบ่อยครั้งในระดับที่กระทบต่อผลผลิตสมุนไพรโดยจะเกิดขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์
                  หรือสูงกว่า เกิดขึ้นบ้างในระดับที่กระทบต่อผลผลิตสมุนไพรโดยจะเกิดขึ้นน้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์

                  และเกิดขึ้นน้อยหรือไม่เกิดขึ้นเลยในระดับความรุนแรงดังกล่าวจะเกิดขึ้นน้อยมาก








                  แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร
                  กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คําฝอย ตะไคร้ บุก พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก   กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49