Page 45 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คำฝอย ตะไคร้ พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก
P. 45

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           3-3





                          3)  การรวบรวมข้อมูลคุณภาพที่ดินสามารถปฏิบัติได้และมีรายละเอียดเพิ่มเติม แบ่ง

                  ออกเป็น 2 ลักษณะคือ สามารถรวบรวมได้ โดยหาข้อมูลจากการตรวจเอกสารหรือการสํารวจใหม่

                  และไม่สามารถรวบรวมได้ โดยไม่สามารถหาข้อมูลหรือผลิตขึ้นได้จากเงื่อนไขในการคัดเลือก
                  คุณภาพที่ดินดังกล่าวข้างต้น


                  3.3  คุณภาพที่ดินที่ใช้ในการประเมินความเหมาะสมของที่ดินสําหรับพืชสมุนไพร

                        จากหลักเกณฑ์การคัดเลือกคุณภาพที่ดินและการลําดับความสําคัญของคุณภาพที่ดินที่ใช้ในการ

                  ประเมินความเหมาะสมของที่ดินสําหรับพืชสมุนไพรพบว่า คุณภาพที่ดินที่ควรนํามาใช้ประเมิน
                  สําหรับพืชสมุนไพรในประเทศไทยมี 13 ชนิด ดังนี้

                          1)  ความเข้มของแสงอาทิตย์ (Radiation regime)

                            คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน (Diagnostic  characteristics)  ได้แก่ ค่าความยาวของช่วง

                  แสง (Day  length)  เพราะมีผลโดยตรงต่อการออกดอก พืชสมุนไพรแต่ละชนิดมีความต้องการความ
                  ยาวของช่วงแสงที่มีอิทธิพลต่อการออกดอกแตกต่างกันออกไป พืชสมุนไพรบางชนิดต้องการ

                  ช่วงแสงสั้น(Short day) ถึงจะออกดอก พืชสมุนไพรบางชนิดต้องการช่วงแสงยาว (Long day) ถึง

                  จะออกดอก แต่พืชสมุนไพรบางชนิดแสงไม่มีอิทธิพลต่อการออกดอก ซึ่งค่าความยาวของช่วงแสงจะ

                  แตกต่างกันออกไปตามจุดที่ตั้งบนเส้นรุ้งในแต่ละช่วงเดือน
                          2)  ระบบอุณหภูมิ (Temperature regime)

                            คุณลักษณะที่ดินเป็นตัวแทนได้แก่ ค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูปลูก  (Mean  temperature  in

                  growing    period)  เพราะอุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการงอกของเมล็ด การออกดอกของพืชสมุนไพรบาง
                  ชนิด และมีส่วนสัมพันธ์กับขบวนการสังเคราะห์แสงซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช

                  สมุนไพร

                          3)  ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (Moisture availability)
                            คุณลักษณะที่ดินเป็นตัวแทนได้แก่ ระยะเวลาการท่วมขังของนํ้าในฤดูฝน ปริมาณนํ้าฝน

                  เฉลี่ยในรอบปี หรือความต้องการนํ้าในช่วงการเจริญเติบโตของพืชสมุนไพร นอกจากนี้ควรพิจารณา

                  ถึงการกระจายของนํ้าฝนในแต่ละพื้นที่และลักษณะของเนื้อดิน ซึ่งมีผลทางอ้อมในเรื่องความจุในการ

                  อุ้มนํ้าที่เป็นประโยชน์ต่อพืชสมุนไพร
















                  แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร
                  กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คําฝอย ตะไคร้ บุก พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก   กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50