Page 35 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คำฝอย ตะไคร้ พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก
P. 35
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2-23
glycoside ก้านบุกพบสาร Uniine และวิตามินบีที่ก้านช่อดอก และหัวบุกยังมีโปรตีนอยู่ร้อยละ 5-6
และมีคาร์โบไฮเดรตอยู่สูงร้อยละ 67
หัวบุกมีสารสําคัญ คือ กลูโคแมนแนน (Glucomannan) เป็ นสารประเภท
คาร์โบไฮเดรต ซึ่งประกอบด้วยกลูโคส แมนโนส และฟรุคโตส สารกลูโคแมนแนนสามารถ
ช่วยลดระดับนํ้าตาลในเลือดได้ เนื่องจากมีความเหนียว ช่วยยับยั้งการดูดซึมของกลูโคสจาก
ทางเดินอาหาร ยิ่งหนืดมากก็ยิ่งมีผลการดูดซึมกลูโคส ดังนั้น กลูโคแมนแนน ซึ่ ง
เหนียวกว่า gua gum จึงสามารถลดนํ้าตาลได้ดีกว่า จึงใช้แป้ งเป็นวุ้นเป็นอาหารสําหรับผู้ป่วย
โรคเบาหวานและสําหรับผู้ที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูง
สารกลูโคแมนแนน (Glucomannan) จะมีปริมาณแตกต่างกันออกไปตามชนิดของบุก
แป้ งจากหัวบุกนั้นประกอบไปด้วยกลูโคนแมนแนนประมาณ 90% และสิ่งเจือปนอื่น ๆ เช่น
alkaloid, starch, สารประกอบไนโตเจนต่าง ๆ sulfates, chloride, และสารพิษอื่น โมเลกุลของกลู
โคแมนแนนนั้นหลัก ๆ แล้วจะประกอบไปด้วยนํ้าตาลสองชนิด คือ กลูโคส 2 ส่วน และแมนโนส
3 ส่วน โดยประมาณ เชื่อมต่อกันระหว่างคาร์บอนตําแหน่งที่ 1 ของนํ้าตาลชนิดที่สอง กับคาร์บอน
ตําแหน่งที่ 4 ของนํ้าตาลชนิดแรกแบบ1,4-glucosidic linkage ซึ่งแตกต่างจากแป้ งที่พบในพืช
ทั่วไป จึงไม่ถูกย่อยโดยกรดและนํ้าย่อยในกระเพาะอาหาร เพื่อให้นํ้าตาลที่ให้พลังงานได้ นอกจาก
กลูโคแมนแนนจะพบได้ในบุกแล้ว ยังพบได้ในว่านหางจระเข้
กลูโคแมนแนน (Glucomannan) สามารถดูดนํ้าและพองตัวได้มากถึง 200 เท่า
ของปริมาณเดิม เมื่อเรารับประทานกลูโคแมนแนนก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงครั้งละ
1 กรัม กลูโคแมนแนนจะดูดนํ้าที่มีมากในกระเพาะอาหารของเรา แล้วเกิดการพองตัวจนทําให้เรา
รู้สึกอิ่มอาหารได้เร็วและอิ่มได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจุดนี้เองที่ทําให้เรารับประทานได้น้อยลงกว่าปกติ
อีกทั้งกลูโคแมนแนนจากบุกก็มีพลังงานตํ่ามาก กลูโคแมนแนนจึงช่วยในการควบคุมนํ้าหนักและ
เป็นอาหารของผู้ที่ต้องการลดความอ้วนได้เป็นอย่างดี
สาร Glucomannan มีฤทธิ์ดูดซึมนํ้าในกระเพาะและลําไส้ได้ดีมาก และยังสามารถไป
กระตุ้นนํ้าย่อยในลําไส้ให้เพิ่มมากขึ้น ทําให้มีการขับของที่คั่งค้างในลําไส้ได้เร็วขึ้น
สารสกัดแอลกอฮอล์จากหัวบุก สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อวัณโรคในหลอดแก้วได้
แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร
กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คําฝอย ตะไคร้ บุก พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน