Page 30 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คำฝอย ตะไคร้ พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            2-18



                     2.6  ตะไคร้


                           ชื่อวิทยาศาสตร์   Cymbopogon citratus (DC.)

                           ชื่อวงศ์  Graminae

                           ชื่อสามัญ   Lapine, Lemon grass, Sweet rush, Ginger grass

                           ชื่อท้องถิ่น  ตะไคร้  ตะไคร้แกง  ตะไคร้มะขูด  คาหอม  ไคร  จะไคร  เชิดเกรย  หัวสิงไค

                     เหลอะเกรย ห่อวอตะโป เฮียงเม้า


                           2.6.1  ลักษณะทั่วไป

                               ตะไคร้ มีเหง้าใต้ดิน ลําต้นมีลักษณะตั้งตรง รูปทรงกระบอก มีความสูงได้ถึง 1 เมตร

                     (รวมทั้งใบ) ส่วนของลําต้นที่เรามองเห็นจะเป็นส่วนของกาบใบที่ออกเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นมี

                     ลักษณะกาบใบหุ้มหนา ผิวเรี ยบ และมีขนอ่อนปกคลุม ส่วนโคนมีรู ปร่ างอ้วน

                     มีสีม่วงอ่อนเล็กน้อย และค่อยๆเรียวเล็กลงกลายเป็นส่วนของใบ แกนกลางเป็นปล้องแข็ง ส่วนนี้
                     สูงประมาณ 20-30  ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และพันธุ์ และเป็นส่วนที่นํามาใช้

                     สําหรับประกอบอาหาร
























                     ภาพจาก : http://puechkaset.com/

                               ใบ ประกอบด้วย 3       ส่วน คือ ก้านใบ หูใบ และใบ ใบตะไคร้ เป็นใบเดี่ยว

                     มีสีเขียว มีลักษณะเรียวยาว ปลายใบโค้งลู่ลงดิน โคนใบเชื่อมต่อกับหูใบ ใบมีรูปขอบขนาน

                     ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แต่คม กลางใบมีเส้นกลางใบแข็ง

                     สีขาวอมเทา มองเห็นต่างกับแผ่นใบชัดเจน ใบกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 60-80 เซนติเมตร









                     แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร
                     กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คําฝอย ตะไคร้ บุก พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก   กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35