Page 26 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คำฝอย ตะไคร้ พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            2-14




                           2.4.2  แหล่งปลูกที่เหมาะสม
                                เจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 20 – 30 องศาเซลเซียส สภาพพื้นที่สูงจาก

                     ระดับนํ้าทะเลไม่เกิน 1,900 เมตร พื้นที่ราบไม่มีนํ้าท่วมขัง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วน

                     ปนทรายที่มีการระบายนํ้าดี ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ของดิน ที่ความเหมาะสมอยู่ในช่วง 6 - 7 ค่า

                     การนําไฟฟ้ าของดิน (EC) ไม่สูงกว่า 1.5 ds/m ปริมาณนํ้าฝนที่เหมาะสม คือ มากกว่า 1,500
                     มิลลิเมตรต่อปี


                          2.4.3  ประโยชน์และสรรพคุณ
                               เหง้า รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้ อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบ

                     ไอ ขับเสมหะแก้บิด เจริญอากาศธาตุ สาร สําคัญในนํ้ามันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบ

                     ตัวของกระเพาะอาหารและลําไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงนํ้าดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน
                     แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตําคั้นเอานํ้าผสมกับนํ้ามะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ

                             ต้น   รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง

                             ใบ   รสเผ็ดร้อน บํารุงกําเดา แก้ฟกชํ้า แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ

                             ดอก  รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทําให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ
                             ราก  รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด

                             ผล   รสหวานเผ็ด บํารุงนํ้านม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ(วัด-ถะ-นะ)

                             แก่น  ฝนทํายาแก้คัน

                               ขิง ยังมีสารอาหาร30ที่มีคุณค่า30ต่อร่างกาย30 คือ โปรตีน30 ไขมัน30 คาร์โบไฮเดรต30 แคลเซียม30
                     วิตามินเอ 30และอีกมากมาย ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้ อ

                     ช่วยให้เจริญอาหาร และทําให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อน

                     และมีใยอาหารมาก นําเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตําผสมกับนํ้าปูนใสคั้นเอาแต่นํ้าดื่ม หรือนําเหง้าสด
                     หมกไฟรับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร


                           2.4.4  สารธรรมชาติออกฤทธิ์
                               ในเหง้าขิงมี นํ้ามันหอมระเหยอยู่ประมาณ 1 - 3 % ขึ้นอยู่กับวิธีปลูกและช่วงการเก็บ

                     รักษา ในนํ้ามันประกอบด้วยสารเคมี ที่สําคัญคือ ซิงจิเบอรีน (Zingiberene)  ซิงจิเบอรอล

                     (Zingiberol) ไบซาโบลี (bisabolene) และแคมฟีน (camphene) มีนํ้ามัน (oleo - resin) ในปริมาณ

                     สูง เป็นส่วนที่ทําให้ขิงมีกลิ่นฉุน และมีรสเผ็ด ส่วนประกอบสําคัญ ในนํ้ามันซัน ได้แก่ จินเจอรอล
                     (gingerol) โวกาออล (shogaol) ซิงเจอโรน (zingerine)  มีคุณสมบัติเป็นยากัดบูด กันหืน ใช้ใส่ใน

                     นํ้ามันหรือไขมัน เพื่อป้ องกันการบูดหืน สารที่ทําให้ขิงมีคุณสมบัติเป็นยากันบูด กันหืนได้ คือ

                     สารจําพวกฟีนนอลิค




                     แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร
                     กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คําฝอย ตะไคร้ บุก พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก   กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31