Page 22 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คำฝอย ตะไคร้ พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก
P. 22
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2-10
ดอก ช่อออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ
ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม
ภาพจาก : https://sites.google.com/site/sitkhxmulrongreiynfangwithyayn/tn-kha
2.3.2 แหล่งปลูกที่เหมาะสม
เจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 10 – 30 องศาเซลเซียส สภาพพื้นที่สูงจาก
ระดับนํ้าทะเลไม่เกิน 1,200 เมตร พื้นที่ราบไม่มีนํ้าท่วมขัง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วน
ปนทรายที่มีการระบายนํ้าดี ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ของดิน ที่ความเหมาะสมอยู่ในช่วง 6 - 7 ค่า
การนําไฟฟ้ าของดิน (EC) ไม่สูงกว่า 1.5 ds/m ปริมาณนํ้าฝนที่เหมาะสม คือ มากกว่า 1,500
มิลลิเมตรต่อปี
2.3.3 ประโยชน์และสรรพคุณ
ข่า เป็นพืชที่นํามาใช้ประโยชน์ทางด้านอาหารมากมาย ใช้ใส่ในต้มข่า ต้มยํา นํ้าพริก
แกงทุกชนิดใส่ข่าเป็นส่วนประกอบ ยกเว้น แกงเหลืองและแกงกอและทางภาคใต้ที่ไม่นิยมใส่ข่า
มีบทบาทในการดับกลิ่นคาวของเนื้อและปลา
หน่อข่าอ่อน เป็นหน่อของข่าที่เพิ่งจะแทงยอดออกมาจากลําต้นใต้ดิน ถ้าอายุ
ประมาณ 3 เดือนเรียกหน่อข่า ถ้าอายุ 6-8 เดือนเรียกข่าอ่อน ถ้าอายุมากกว่า 1 ปีจัดเป็นข่าแก่
ปริมาณนํ้ามันหอมระเหยประมาณ 3% หน่อข่าอ่อนทั้งสดและลวกใช้จิ้มหลนและนํ้าพริก นํามายํา
ข่า ยังมีฤทธิ์ทางยา เหง้าแก่แก้ปวดท้อง จุกเสียด แน่น ดอกใช้ทาแก้กลากเกลื้อน
ผลช่วยย่อยอาหาร แก้คลื่นเหียน อาเจียน ต้นแก่นําไปเคี่ยวกับนํ้ามันมะพร้าว ทาแก้ปวดเมื่อย
เป็นตะคริว ใบมีรสเผ็ดร้อน แก้พยาธิ สารสกัดจากข่ามีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย นํ้ามันหอมระเหย
จากข่ามีฤทธิ์ทําให้ไข่แมลงฝ่อ กําจัดเชื้อราบางชนิดได้ ใช้ผสมกับสะเดาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร
กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คําฝอย ตะไคร้ บุก พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน