Page 23 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คำฝอย ตะไคร้ พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            2-11




                     ในการกําจัดแมลง ข่า ลดการบีบตัวของลําไส้ ขับนํ้าดี ขับลม ลดการอักเสบ ยับยั้งแผล
                     ในกระเพาะอาหาร ฆ่าเชื้อแบคทีเรียฆ่าเชื้อราใช้รักษากลากเกลื้อน

                           2.3.4  สารธรรมชาติออกฤทธิ์


                               1) นํ้ามันหอมระเหย นํ้ามันหอมระเหย (Essential oils) ประกอบด้วย สาร สําคัญส่วน
                     ใหญ่กว่าร้อยละ 70  เป็นสารประกอบ Terpene  alcohols,  Ketones,  Esters,  Aldehydes

                     และสารอนุพันธ์ Phenylpropane  ในเหง้าข่าแก่มีนํ้ามันหอมระเหยประมาณร้อยละ 0.2-1.5  ของ

                     นํ้าหนักแห้ง ส่วนในเหง้าสดมีประมาณร้อยละ 0.1 โดยพบสาร 1´-Acetoxychavicolacetate (ACA)
                     ในปริมาณมาก ร้อยละ 76.5  สารเคมีที่พบรองลงมา คือ p-Coumaryl  diacetate  ร้อยละ 8.0,

                     กรด Palmitic ร้อยละ 3.2 และ 1´-Acetoxyeugenol acetate (AEA) ร้อยละ 3.1 สารออกฤทธิ์ที่พบ

                     มากสุดในนํ้ามันหอมระเหยในเหง้า คือ 1,8-Cineole ร้อยละ 64.2 รองลงมา คือ Limonene ร้อยละ
                     3.7 นอกจากนั้น เหง้าข่า (A.  galanga)  มีสารประกอบในกลุ่ม Tetraterpenes   คือ Carotenoids

                     ประมาณ 0.6-1.1  mg%  และ Tannins  17.7  mg%  และยังพบกรด   Ascorbic  7.9  mg%  และ α–

                     Tocopherols เพียงเล็กน้อย 0.004 mg% นํ้ามันหอมระเหยในลําต้นเทียมมีสาร trans-Caryophyllene

                     ร้อยละ 40.9 และ β-Siliene ร้อยละ 15.8เป็นองค์ ส่วนเปลือกลําต้นเทียมมี β-Carotenes ประมาณ
                     0.7 μg/g


                               2) สารให้กลิ่นฉุน และรสเผ็ดร้อน สารให้กลิ่นฉุน และรสเผ็ดร้อนในเหง้าข่า
                     โดยทั่วไปเป็นองค์ประกอบของนํ้ามันหอมระเหย ประกอบด้วยสารประกอบ O-methoxyphenols

                     และPropylphenols เช่น Gingerols, Galangol และ Eugenol สารที่ให้กลิ่นข่าจะมีลักษณะเป็นผลึกสี

                     เหลือง ไม่มีรส ประกอบด้วยสาร 3  ชนิด คือ  Kaempferid  (C16H12O6)  (อนุพันธุ์ของ Flavonol)

                     สามารถเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับกรดไนตริก ได้กรด Anisic – Oxalic Galangin (C15H10O5)
                     เป็นสารตั้งต้นของกรด Benzoic  และ Oxalic  –  Alpinin  (C17H12O6) นอกจากนั้น ยังพบสารให้

                     กลิ่นที่สําคัญ คือ Darylheptanoids และ Phenyl alkanones

                               3) สารประกอบฟีนอล สารประกอบฟีนอล พบได้ทั่วไปในพืชหลายชนิด โครงสร้าง

                     ทางเคมีประกอบด้วยวงแหวนเบนซีน (C6) และมีกลุ่ม Hydroxyl เกาะอยู่ตั้งแต่ 1 กลุ่ม ขึ้นไป เรียกว่า

                     Simple phenols เช่น Catechol Guaiacol และ Hydroquinone นอกจากนี้ยังมีสารประกอบอื่นที่มา
                     เกาะบนวงแหวนเบนซีน เช่น กลุ่มกรด Phenolic  (C6-C1),  กลุ่ม Phenylacetic  (C6-C2),

                     กลุ่ม Cinnamic Phenylpropenes, กลุ่ม Coumarins (C6-C3) และกลุ่ม Naphthoquinones (C6-C4)

                     สารประกอบฟีนอลเรียกโดยรวมว่า Simple  polyphenols  พบมากในพืชผักประเภทหัวหรือรากที่

                     สะสมอาหาร สารนี้มีบทบาทในการต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)            และทําให้เกิด
                     สีนํ้าตาลของกระบวนการที่มีเอนไซม์เข้ามาเกี่ยวข้อง (Enzymatic browning)




                     แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร
                     กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คําฝอย ตะไคร้ บุก พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก   กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28