Page 79 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองกุย อำเภอกุยบุรี และอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 79

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          63



                       3.3 มะม่วง จากการสุ่มตัวอย่างเกษตรกรในพื้นที่ที่ปลูกมะม่วงที่มีการชะล้างพังทลายของดินใน

               3 ระดับ คือ น้อย ปานกลาง และรุนแรง พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่นิยมปลูกมะม่วง
               พันธุ์ดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออก โดยพื้นที่ดินที่มีการชะล้างระดับน้อย เกษตรกรมีปริมาณผลผลิต

               737.50 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาผลผลิตเท่ากับ 40.10 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนการผลิตเท่ากับ 18,245.22

               บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 11,328.53 บาทต่อไร่ และอัตราผลตอบแทนรายได้
               เหนือต้นทุนทั้งหมด (B/C ratio) เท่ากับ 1.62 พื้นที่ดินที่มีการชะล้างระดับปานกลาง เกษตรกรมีปริมาณ

               ผลผลิต 735.45 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาผลผลิตเท่ากับ 40.11 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนการผลิตเท่ากับ
               18450.32 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 11,048.58 บาทต่อไร่ และอัตรา

               ผลตอบแทนรายได้เหนือต้นทุนทั้งหมด (B/C ratio) เท่ากับ 1.60 และพื้นที่ดินที่มีการชะล้างระดับรุนแรง

               เกษตรกรมีปริมาณผลผลิต 735.33 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาผลผลิตเท่ากับ 40.10 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนการ
               ผลิตเท่ากับ 18,543.85 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 10,950.24 บาทต่อไร่ และ

               อัตราผลตอบแทนรายได้เหนือต้นทุนทั้งหมด (B/C ratio) เท่ากับ 1.59
                       จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า กลุ่มตัวอย่างที่ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออก ผลผลิตจากมะม่วงมี

               ปริมาณผลผลิตที่ใกล้เคียงกัน แต่เมื่อพิจารณาตามระดับการชะล้างการพังทลายของดิน พบว่า ปริมาณ

               ผลผลิตมีทิศทางที่ลดลงตามระดับความรุนแรงของการชะล้างการพังทลาย ในด้านต้นทุนการผลิตทั้งหมด
               พบว่า ในทุกระดับการสูญเสียดินมีต้นทุนการผลิตที่ใกล้เคียงกัน แต่เมื่อพิจารณาถึงผลตอบแทนเหนือ

               ต้นทุนทั้งหมด พบว่า มูลค่าผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดมีมูลค่าลดลงตามระดับความรุนแรงของการ

               ชะล้างการพังทลายของดิน
                       3.4 ปาล์มน้ ามัน จากการสุ่มตัวอย่างเกษตรกรในพื้นที่ที่ปลูกปาล์มน้ ามันที่มีการชะล้างพังทลาย

               ของดินใน 3 ระดับ คือ น้อย ปานกลาง และรุนแรงมาก พบว่า กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรในพื้นที่ทั้งหมดปลูก
               ปาล์มน้ ามันพันธุ์โกลด์เด้นเทเนอร่า โดยพื้นที่ดินที่มีการชะล้างระดับน้อย เกษตรกรมีปริมาณผลผลิต

               1,145.50 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาผลผลิตเท่ากับ 3.20 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนการผลิตเท่ากับ 2,342.95

               บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 1,322.65 บาทต่อไร่ และอัตราผลตอบแทนรายได้
               เหนือต้นทุนทั้งหมด (B/C ration) เท่ากับ 1.56 พื้นที่ดินที่มีการชะล้างระดับปานกลาง เกษตรกรมี

               ปริมาณผลผลิต 1,134.82 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาผลผลิตเท่ากับ 3.20 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนการผลิต
               เท่ากับ 2,343.58 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 1,287.85 บาทต่อไร่ และอัตรา

               ผลตอบแทนรายได้เหนือต้นทุนทั้งหมด (B/C ration) เท่ากับ 1.55 พื้นที่ดินที่มีการชะล้างระดับรุนแรง

               มาก เกษตรกรมีปริมาณผลผลิต 1,095.54 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาผลผลิตเท่ากับ 3.20 บาทต่อกิโลกรัม
               ต้นทุนการผลิตเท่ากับ 2,269.29 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 1,236.44 บาทต่อไร่

               และอัตราผลตอบแทนรายได้เหนือต้นทุนทั้งหมด (B/C ration) เท่ากับ 1.55

                       จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่ปลูกปาล์มน้ ามันได้ผลผลิตจากปาล์มน้ ามันมีปริมาณ
               ผลผลิตที่ใกล้เคียงกัน แต่เมื่อพิจารณาตามระดับการชะล้างการพังทลายของดิน พบว่า ปริมาณผลผลิตมี

               ทิศทางที่ลดลงตามระดับความรุนแรงของการชะล้างการพังทลายของดินที่เพิ่มขึ้น ในประเด็นด้านราคา
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84