Page 104 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยท่าแค จังหวัดนครราชสีมา
P. 104

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          88


               เจาะบ่อบาดาลสูบน้ าจืดขึ้นมาใช้เพื่อช่วยป้องกัน และควบคุมการแพร่กระจายของดินเค็ม ใช้เศษซากพืช

               หรือวัสดุอื่นคลุมดินเพื่อป้องกันการระเหยของน้ าในดิน ซึ่งจะช่วยลดการพาเกลือขึ้นมาสู่ผิวหน้าดิน
                           6) เขตท าการเกษตรบนพื้นที่ที่มีการสูญเสียหน้าดิน 2-5 ตัน/ไร่/ปี มีเนื้อที่ 25,089 ไร่ หรือ

               ร้อยละ 23.41 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ า เขตพื้นที่นี้เพาะปลูกโดยอาศัยน้ าฝน มีการสูญเสียหน้าดิน

               2-5 ตัน/ไร่/ปี โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย พบ
               บริเวณชายขอบของเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ า แบ่งเขตตามสภาพปัญหาดินได้ดังนี้

                            6.1) เขตดินลึกปานกลางปลูกพืชไร่มีการสูญเสียหน้าดิน 2-5 ตัน/ไร่/ปี (2221B) มีเนื้อที่
               15,928 ไร่ หรือร้อยละ 14.86 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ า พื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด

               เล็กน้อย มีการชะล้างพังทลายของดิน สูญเสียหน้าดินอย่างน้อย 2-5 ตัน/ไร่/ปี ความอุดมสมบูรณ์

               ปานกลาง เพาะปลูกโดยอาศัยน้ าฝน การใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ปลูกพืชไร่
                            ข้อเสนอแนะ สนับสนุนการท าการเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกร

               หรือส่งเสริมให้ปลูกพืชใช้น้ าน้อย/พืชทนแล้ง เร่งพัฒนาแหล่งน้ าขนาดเล็ก ให้กระจายไปตามพื้นที่ในเขตนี้
               และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ าให้คุ้มค่า พัฒนาการผลิต ใช้พันธุ์พืชดีมีคุณภาพที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

               ปรับปรุงบ ารุงดินด้วยปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราที่เหมาะสม สนับสนุนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และ

               ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดินทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมี ท าคันดินเบนน้ า
               ร่องระบายน้ า ร่วมกับการปลูกหญ้าแฝกเพื่อดักตะกอนและชะลอการไหลของน้ า

                            6.2) เขตดินแน่นทึบปลูกพืชไร่มีการสูญเสียหน้าดิน 2-5 ตัน/ไร่/ปี (2222B) มีเนื้อที่ 3,992

               ไร่ หรือร้อยละ 3.72 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ า พื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย
               มีการชะล้างพังทลายของดิน สูญเสียหน้าดินอย่างน้อย 2-5 ตัน/ไร่/ปี ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง

               เพาะปลูกโดยอาศัยน้ าฝน การใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ปลูกพืชไร่
                            ข้อเสนอแนะ ใช้อินทรียวัตถุ พวกปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยพืชสด ปรับปรุงบ ารุงดิน เพื่อให้

               ดินร่วนซุยขึ้น มีช่องว่างให้น้ าและอากาศไปเป็นประโยชน์กับพืชได้มากขึ้น เร่งพัฒนาแหล่งน้ าขนาดเล็ก

               ให้กระจายไปตามพื้นที่ในเขตนี้และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ าให้คุ้มค่า พัฒนาการผลิต เลือกชนิดพืช
               ที่ปลูก และพันธุ์ที่ชอบดินที่มีเนื้อดินเหนียว แน่นทึบ ทนกับการขังน้ าในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และตรงกับ

               ความต้องการของตลาด ปรับปรุงบ ารุงดินด้วยปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราที่เหมาะสม สนับสนุน
               การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การใช้ปุ๋ยพืชสด และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดินทดแทนการใช้

               ปุ๋ยเคมี และสารเคมีป้องกันก าจัดศัตรูพืช ท าคันดินเบนน้ า ร่องระบายน้ า ร่วมกับการปลูกหญ้าแฝกเพื่อ

               ดักตะกอนและชะลอการไหลของน้ า ท าบ่อดักตะกอน
                            6.3) เขตดินทรายความอุดมสมบูรณ์ต่ าปลูกพืชไร่มีการสูญเสียหน้าดิน 2-5 ตัน/ไร่/ปี

               (2321B) มีเนื้อที่ 4,627 ไร่ หรือร้อยละ 4.32 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ า พื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูก

               คลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีการชะล้างพังทลายของดิน สูญเสียหน้าดินอย่างน้อย 2-5 ตัน/ไร่/ปี
               ความอุดมสมบูรณ์ต่ า เพาะปลูกโดยอาศัยน้ าฝน การใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ปลูกพืชไร่ เช่น

               ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันส าปะหลัง
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109