Page 15 - โครงการอนุรักษ์ดินและน้ำ : บริบทแห่งการพัฒนาพื้นที่สูงที่ยั่งยืน
P. 15
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3-1
บทที่ 3
ความส าคัญของพื้นที่สูงหรือพื้นที่ภูเขา
จากการล่มสลายของอารยธรรมการเกษตรดังกล่าวข้างต้น ในเวลาต่อมาจึงได้ให้ความส าคัญกับ
พื้นที่สูงหรือพื้นที่ภูเขา ดังนี้
การให้ความส าคัญกับพื้นที่ภูเขาได้เริ่มขึ้นเมื่อมีการประชุม Earth Summit ที่กรุงริโอ
เดอ จาเนโร เมื่อ พ.ศ. 2535 และมีการจัดท าแผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) ขึ้นในบทที่ 13 โดยให้ชื่อว่า
“การพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่ภูเขา” ซึ่งมีสาระส าคัญหลายเรื่อง เช่น ก าหนดเขตอันตรายที่มีความ
ล่อแหลมมากที่สุดต่อการเกิดดินพังทลาย น้ าท่วม ดินถล่ม และภัยอันตรายอื่นๆ ตลอดจนพัฒนาระบบ
เตือนภัยล่วงหน้า และจัดตั้งชุดปฏิบัติการแก้ไขภัยพิบัติขึ้น (Keating, 1992: 36) โดยมีรายละเอียดดังนี้
การพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่ภูเขา (Sustainable Mountain Development)
“ภูเขาเป็นแหล่งที่มาส้าคัญของน้้า พลังงาน แร่ธาตุต่างๆ ป่าไม้ ผลผลิตการเกษตร และเป็นพื้นที่
เพื่อการพักผ่อน นอกจากนี้ยังเป็นที่เก็บรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่ใกล้จะ
สูญพันธุ์ และเป็นส่วนประกอบของระบบนิเวศของโลก
ระบบนิเวศของภูเขามีส่วนกระทบต่อประชาชนเกือบครึ่งโลก ประชากรประมาณ 10% ของโลก
อาศัยอยู่ในบริเวณภูเขา ในขณะที่ 40% อาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งรับน้้าที่อยู่ต่้าลงมา จากเทือกเขาแอนดิส
จนถึงหิมาลัย และจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงตะวันออกและภาคกลางของแอฟริกา ได้เกิด
ปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงในบริเวณที่เป็นแหล่งต้นน้้าล้าธาร อันเนื่องมาจากการ
ตัดไม้ท้าลายป่า การสูญเสียต้นไม้จากการเลี้ยงสัตว์ และการเพาะปลูกในบริเวณที่ลาดระหว่างที่ราบกับ
ภูเขาซึ่งท้าให้ดินพังทลาย
ระบบนิเวศของภูเขายังมีความล่อแหลมต่อการกัดเซาะพังทลายของดิน ดินถล่ม และการสูญเสีย
ถิ่นที่อยู่อาศัยกับความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ประชาชนที่
อาศัยอยู่ในบริเวณภูเขายังประสบกับปัญหาความยากจน ความเจ็บป่วย ขาดแคลนการสุขาภิบาลและการ
ว่างงานซึ่งเป็นไปอย่างกว้างขวาง บริเวณพื้นที่ภูเขาส่วนใหญ่ก้าลังประสบกับปัญหาการเสื่อมโทรมของ
สิ่งแวดล้อม
ดังนั้น จึงมีความจ้าเป็นที่จะต้องรีบด้าเนินการในเรื่องการจัดการทรัพยากรในบริเวณภูเขาอย่าง
เหมาะสมและการพัฒนาสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว จ้าเป็นต้อง
มีการวางแผนและการจัดการการใช้ที่ดินในบริเวณแหล่งรับน้้าจากภูเขาภายในปี ค.ศ. 2000 และการ
คุ้มครองแหล่งต้นน้้าล้าธารโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะป้องกันการพังทลายของดิน เพิ่มปริมาณต้นไม้และพืชชนิดต่างๆ
และการรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของสิ่งแวดล้อมในบริเวณภูเขา
รัฐบาลควรจะ
- สนับสนุนมาตรการป้องกันการพังทลายของดินที่เสียค่าใช้จ่ายน้อย และน้าไปปฏิบัติได้
โดยง่าย
- เสนอสิ่งตอบแทนเพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากร และการใช้
เทคโนโลยีที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นในกลุ่มประชาชนว่าการพัฒนาแบบใดใน
พื้นที่ภูเขาที่จะสร้างความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้น และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องการ
จัดการทรัพยากร