Page 16 - โครงการอนุรักษ์ดินและน้ำ : บริบทแห่งการพัฒนาพื้นที่สูงที่ยั่งยืน
P. 16
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3-2
- ให้ข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องทางเลือกในการประกอบอาชีพ เช่น การเพาะปลูกพืช ปศุสัตว์
การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงผึ้ง การประมง อุตสาหกรรมในครัวเรือน การตลาดและการขนส่ง
- จัดตั้งพื้นที่คุ้มครองเพื่อช่วยบ้ารุงรักษาสารพันธุกรรมของป่า
- ก้าหนดเขตอันตรายที่มีความล่อแหลมมาที่สุดต่อการเกิดดินพังทลาย น้้าท่วม ดินถล่ม
แผ่นดินไหว หิมะถล่มและภัยธรรมชาติอื่นๆ ตลอดจนพัฒนาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า และจัดตั้ง
ชุดปฏิบัติการแก้ไขภัยพิบัติขึ้น
United Nations (2001: 7-8) ได้ระบุ ถึงความส าคัญของพื้นที่ภูเขาว่ามี 7 ประการคือ
(1) เป็นแหล่งต้นน้ าล าธาร แม่น้ าส าคัญทั้งหลายในโลกนี้เกิดจากภูเขาและพื้นที่สูง
มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรในโลกนี้ได้อาศัยน้ าจืดซึ่งได้มาจากแหล่งต้นน้ าล าธาร ส าหรับดื่ม อุปโภค-
บริโภค การเกษตรและอุตสาหกรรม เมื่อความต้องการน้ าได้เพิ่มขึ้น ความขัดแย้งในการใช้น้ ากเเพิ่มขึ้น
เช่นเดียวกัน การจัดการรักษาแหล่งน้ า คือภูเขาจึงเป็นความท้าทายที่ส าคัญของมนุษย์ชาติอย่างหลีกไม่พ้น
(2) เป็นแหล่งการใช้ที่ดินที่ผสมผสาน
เกษตรกรที่ประกอบอาชีพในพื้นที่ภูเขาจะผสมผสานการเกษตรเข้ากับพื้นที่ป่าไม้และการเลี้ยง
สัตว์ ในลักษณะสมดุลเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หลายประการทั้งการผลิต การรักษาสิ่งแวดล้อม ต้นไม้
จะท าหน้าที่ในการอนุรักษ์ดินและน้ า ระบบการใช้ที่ดินดังกล่าวนี้ได้ถูกแรงกดดันจากสังคมและเศรษฐกิจ
ภายนอกให้มีการเปลี่ยนแปลง
(3) เป็นแหล่งพลังงานและทรัพยากรธรณี
น้ าที่เกเบกักในบริเวณภูเขาหรือทะเลสาบได้น ามาผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ า ที่ชุมชนเมือง
ต่างๆ ต้องการ ภูเขายังเป็นแหล่งทรัพยากรธรณี ที่ผลิต ตะกั่ว ทองแดง สังกะสี ความท้าทายที่ยังมีอยู่กเคือ
การสร้างสมดุลระหว่างความต้องการแร่ธาตุต่างๆ กับสภาวะแวดล้อมของพื้นที่ภูเขา
(4) เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ความสวยงามและความหลากหลายของภูมิทัศน์ การรองรับการกีฬารวมทั้งวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ
ได้ดึงดูดให้ประชากรมากกว่า 50 ล้านคน เดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ภูเขาแต่ละปี ถึงแม้ว่าการท่องเที่ยว
จะสร้างโอกาสในการพัฒนาพื้นที่กเตาม แต่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ วัฒนธรรมประเพณีและสิ่งแวดล้อม
ดังนั้นการจัดท าแผนการท่องเที่ยวจะต้องด าเนินการร่วมกับชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ภูเขาและผู้มีส่วนได้เสีย
ทุกขั้นตอนของการพัฒนา
(5) เป็นแหล่งของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
พื้นที่ภูเขาจะเป็นแหล่งของความหลากหลายของชีวภาพบางพื้นที่จะเป็นแหล่งพืชพันธุ์
โดยเฉพาะท้องถิ่น เช่นบริเวณเทือกเขาแอนดีสและเทือกเขาหิมาลัยด้านตะวันออก ถึงแม้ว่าการจัดตั้ง
อุทยานแห่งชาติ และเขตคุ้มครองต่างๆ จะเป็นวิธีการหลักของการอนุรักษ์กเตามแต่มาตรการดังกล่าวนี้ไม่
เพียงพอต่อการอนุรักษ์แหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ จ าเป็นต้องมีแนวคิดใหม่ในการด าเนินการ ที่ชุมชน
ท้องถิ่นมีส่วนร่วม