Page 17 - โครงการอนุรักษ์ดินและน้ำ : บริบทแห่งการพัฒนาพื้นที่สูงที่ยั่งยืน
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       3-3


                                (6) เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
                                พื้นที่ภูเขาเป็นแหล่งของความลี้ลับและสิ่งดลใจต่างๆ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่

                  ปรากฏคือ ภาษา ศิลปะ และประเพณีเฉพาะท้องถิ่น เมื่อเกิดโลกาภิวัฒน์ ที่มีผลดีต่อเศรษฐกิจ แต่อาจจะ
                  ไปท าลายสังคม และความเป็นหนึ่งเดียวของวัฒนธรรมในสังคมของประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขา

                                (7) ตัวชี้วัดของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

                                ภูเขาจะเป็นพื้นที่ที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การละลายของธารน้ าแขเงเป็น
                  ตัวชี้วัดที่ชัดเจนที่แสดงให้เหเนว่าภูมิอากาศโลกก าลังเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นและปริมาณฝนที่
                  เปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบต่อการเกษตร ป่าไม้ การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม ทั้งในพื้นที่ภูเขาและพื้นที่ราบ
                  ตอนล่าง

                         หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2559 เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้มีรายงานเรื่อง
                  Sustainable Mountain Development ต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติว่า “ภูเขาครอบคลุม
                  พื้นที่ร้อยละ 22 ของพื้นผิวโลกเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของประชากร ร้อยละ 15 ของประชากรโลก เป็นแหล่งน้ าจืด
                  ความหลากหลายทางชีวภาพ อาหารและพลังงาน เป็นแหล่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความรู้และ

                  จิตวิญญาณเช่นเดียวกับเป็นเป้าหมายของการพักผ่อนหย่อนใจและการท่องเที่ยว อย่างไรกเตามพื้นที่ภูเขา
                  ในประเทศก าลังพัฒนามีความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นกับประชากร ระหว่าง พ.ศ. 2543
                  (ค.ศ.2000) และ พ.ศ. 2555 (ค.ศ.2012) จ านวนประชากรที่ตั้งถิ่นฐานบนภูเขาในประเทศก าลังพัฒนาทั่ว

                  โลกได้เพิ่มขึ้น  โดยในปี พ.ศ. 2543 มีประชากรมากกว่า 250 ล้านคนอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ภูเขาที่คาดว่า
                  เสี่ยงต่อความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 35 ของประชากรที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณภูเขา
                  ต่อมาในปี 2555 FAO ได้รายงานว่าประชากรดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 แต่ขาดความมั่นคงทางอาหาร
                  เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 หรือมีจ านวน 329 ล้านคน และมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 39 ของประชากรที่ตั้งถิ่นฐาน
                  บนพื้นที่ภูเขา ผลการศึกษาดังกล่าวนี้แสดงให้เหเนว่าการปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลก

                  ไม่ปรากฏแก่ผู้คนบริเวณพื้นที่ภูเขา ซึ่งรวมถึงขาดการบรรเทาความยากจนและความหิวโหยลงด้วย
                         ดังนั้นจึงได้ก าหนด วาระแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) พ.ศ. 2573 ของพื้นที่ภูเขาไว้
                  รวม 3 เป้าหมายดังนี้

                                (1) เป้าหมาย SDG 6.6 ในปี พ.ศ. 2563 จะต้องมีการป้องกันและฟื้นฟูระบบนิเวศที่
                  เกี่ยวกับทรัพยากรน้ า รวมทั้งภูเขา ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ า แม่น้ า น้ าพุ และทะเลสาบ
                                (2) เป้าหมาย SDG 15.1 ในปี 2563 มั่นใจว่ามีการอนุรักษ์ การฟื้นฟู การใช้ที่ยั่งยืนของ
                  ระบบนิเวศน้ าจืด โดยเฉพาะ ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ า ภูเขา พื้นที่แห้งแล้ง อยู่ในกรอบของข้อตกลงนานาชาติ

                                (3) เป้าหมาย SDG 15.4 ในปี 2573 มั่นใจว่ามีการอนุรักษ์ระบบนิเวศภูเขา รวมทั้งความ
                  หลากหลายทางชีวภาพเพื่อที่จะกระตุ้นและส่งเสริมขีดความสามารถในการให้ผลตอบแทนที่มีความจ าเป็น
                  ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (General Assembly, 2016: 2-3)
                         ทั้งนี้ General   Assembly ได้ให้ความส าคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในพื้นที่ภูเขาที่

                  ครอบคลุมประเดเนหลัก รวม 14 ประการคือ
                                1. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในภูเขา
                                2. การจัดการลุ่มน้ าและการจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืนในเขตภูเขา
                                3. การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศภูเขา

                                4. ความเสื่อมโทรมของดิน และการแปรสภาพเป็นทะเลทราย
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22