Page 10 - โครงการอนุรักษ์ดินและน้ำ : บริบทแห่งการพัฒนาพื้นที่สูงที่ยั่งยืน
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       2-3


                         แม่น้ าฮวงโห หรือแม่น้ าเหลือง (Yellow  river) เป็นอู่อารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของจีน ซึ่งตั้งถิ่นฐาน
                  ในประเทศจีนจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุประมาณ 1.7 ล้านปี หลักฐาน

                  ที่แสดงให้เห็นความเจริญเริ่มแรก คือ“วัฒนธรรมหยางเช่า” ที่มีอายุประมาณ 7,000–5,000 ปี
                  ที่ล่วงมาแล้วอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ผู้คนในวัฒนธรรมหย่างเช่าตั้งถิ่นฐานและท าการเกษตรอยู่
                  สองฝั่งแม่น้ าฮวงโห ซึ่งเป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์เกิดจากตะกอนล าน้ าที่มาทับถม  นอกจากเขตวัฒนธรรม
                  หยางเช่าแล้ว ในเขตใกล้เมืองหางโจว ในมณฑลเจ้อเจียง ก็ได้มีชาวเหอมู่ตู้ เริ่มปลูกข้าวเป็นครั้งแรก

                  จากการที่แม่น้ าฮวงโหตอนกลางไหลผ่านที่ราบสูงซึ่งเกิดจากดินที่ลมพัดพามาจากเขตอื่นมาทับถมกัน (Loess) *
                  จึงได้พัดพาเอาดินสีเหลืองลงสู่ตอนล่างโดยมีน้ าเป็นสีเหลือง จึงเรียกว่า แม่น้ าเหลืองอีกชื่อหนึ่ง น้ าที่ท่วม
                  เป็นฤดูกาลนอกจากน าความอุดมสมบูรณ์มาสู่พื้นที่สองฝั่งแม่น้ าแล้ว ยังท าให้ผู้คนเสียชีวิตตลอดเวลา
                  อันยาวนาน ดังที่นักประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า ความรุ่งเรืองและตกต่ าของจีนในอดีตขึ้นอยู่กับการท่วมของ

                  แม่น้ าฮวงโหว่าจะรุนแรงแค่ไหน (Juo and Wilding, 2001: 15) มีข้อมูลที่บันทึกไว้ตั้งแต่ 602 ปี
                  ก่อนคริสต์ศักราชถึงปัจจุบันมีน้ าท่วมจากแม่น้ าฮวงโหจ านวน 1,500 ครั้ง ท าให้ผู้คนเสียชีวิตหลายล้านคน
                  สาเหตุที่ส าคัญ คือแม่น้ าตื้นเขินขึ้นจากตะกอนดินที่ถูกชะล้างในพื้นที่ภูเขาตอนบน
                  (factsanddetails.com.china) ในรายงานฉบับเดียวกันได้ระบุไว้ว่ามีตะกอนดินที่เกิดจากการชะล้าง

                  พังทลายของดินประมาณ 1,500 ต้น ที่ไหลลงสู่แม่ฮวงโห หรือ แม่น้ าเหลือง ท าให้ท้องน้ าสูงขึ้นที่บางแห่ง
                  สูงกว่าพื้นที่ท าการเกษตรสองฝั่งแม่น้ า ที่ต้องป้องกันด้วยพนังกั้นน้ าที่เสริมความสูงขึ้นตลอดเวลา ปัญหาที่
                  ตามมาคือ (1) ต้องสร้างพนังกั้นน้ าสูงขึ้นตลอดเวลา (2) ต้องขุดลอกดินตะกอนในล าน้ าอย่างต่อเนื่อง

                  (3) สร้างทางระบายน้ าใหม่เพื่อบรรเทาปัญหาน้ าท่วม และ (4) สร้างเขื่อนเพื่อควบคุมอุทกภัย รายงานที่
                  กล่าวถึงการท าลายพื้นที่ป่าไม้บนภูเขาสอดคล้องกับ (Juo and Wilding, 2001:15) ที่ระบุไว้ว่า ผลจากการ
                  รุกรานและสู้รบในอดีตระหว่างผู้คนในพื้นที่กับผู้รุกรานเพื่อหาที่ดินตั้งถิ่นฐานและที่ดินท ากิน ท าให้พื้นที่ป่า
                  บนภูเขาถูกบุกรุกท าลายลงจ านวนมาก
                         ปัญหาที่ตามมาในพื้นที่ดังกล่าวนี้อีกประการหนึ่งก็คือ ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นมากกว่า 30 ครั้งตั้งแต่

                  พ.ศ. 2515 ถึงกับตอนปลายของแม่น้ าแห้งขอด สาเหตุที่เกิดขึ้นดังกล่าวนี้เป็นเพราะเกิดความแห้งแล้งในพื้นที่
                  ต้นน้ าในที่ราบสูงธิเบต  รวมทั้งการใช้น้ าในพื้นที่ต้นน้ าทั้งเพื่อการเกษตร อุตสาหกรรม อุปโภคและบริโภค
                  ของชุมชนสูงขึ้นร้อยละ 80-90 ของปริมาณน้ าที่มีอยู่ (www.facts and detaild.com/china)

                         ถึงแม้ว่าอารยธรรมฮวงโหที่เคยเจริญรุ่งเรืองในอดีตยังมิได้ล่มสลายลง แต่ปัญหาน้ าท่วมและขาด
                  แคลนน้ า ได้เกิดขึ้นจากการท าลายป่าไม้ส่งผลให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินอย่างรุนแรง

                         2.1.4 อารยธรรมลุ่มน ้าสินธุ

                         แม่น้ าสินธุมีต้นน้ าบริเวณที่ราบสูงทิเบต ใกล้กับทะเลสาบมานาซาโรวาร์ มีความยาว 3,180
                  กิโลเมตร
                         ลุ่มน้ าสินธุเป็นแหล่งอารยธรรมแห่งแรกของอินเดีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย
                  โบราณ ปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน บริเวณลุ่มน้ าสินธุเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์จาก
                  ตะกอนล าน้ าจากแม่น้ าสินธุและล าน้ าสาขา ประชากรดั้งเดิม คือ ดราวิเดียน ท าการเกษตรโดย

                  -------------------------------------
                  * Loess ดินลมหอบ,ดินเลิสส์: ดินละเอียดสีเหลืองอ่อนหรือสีเทา ซึ่งลมพัดพาจากเขตอื่นมาทับถมกัน ไม่มีลักษณะเป็นชั้นๆ และไม่จัดตัวแข็ง
                  ประกอบด้วยทรายแป้ง (silt)  เป็นส่วนใหญ่ มีทรายละเอียดมาก อาจมีดินเหนียว (clay)  ปนอยู่บ้างตัวอย่างบริเวณที่มีดินลมหอบอย่าง
                  กว้างขวาง ได้แก่ ทางตอนกลางของลุ่มแม่น้ าฮวงโห ในภาคเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน ดินลมหอบที่ปกคลุมพื้นที่นั้น เกิดจากการทับถม
                  ของทรายแป้งที่ลมพัดพามาจากทะเลทรายโกบี ซึ่งอยู่ทาง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของบริเวณที่เกิดดินลมหอบ (คณะอนุกรรมการจัดท า
                  พจนานุกรมธรณีวิทยา, 2530:73)
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15